วิธีตัดต่ออวัยวะ และวิธีเก็บรักษาอวัยวะที่ขาดอย่างถูกต้อง

article-วิธีตัดต่ออวัยวะ และวิธีเก็บรักษาอวัยวะที่ขาดอย่างถูกต้อง

Wednesday 24 April 2024

by Dr.WICHIT SIRITATTAMRONG

5.00

นอกจากการผ่าตัดเฉพาะโรคเพื่อช่วยรักษาความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแล้ว การตัดต่ออวัยวะที่มักเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เช่น  แขน ขา มือ นิ้วหรืออวัยวะเพศขาดออกไปจากร่างกาย และได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการต่ออวัยวะอย่างเร่งด่วน เพื่อรักษาอวัยวะที่เสียหายให้เร็วที่สุด

3 ขั้นตอนช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อพบผู้บาดเจ็บ

1. โทร. 1669 เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อขอความช่วยเหลือ
2. ห้ามเลือดก่อน โดยเฉพาะผู้ที่บาดเจ็บหนักจนอวัยวะขาด เช่น แขนขาด ต้นแขนขาด และขาขาด โดยให้ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซมาปิดแผลกดบริเวณแผลให้แน่นเพื่อห้ามเลือด และหลีกเลี่ยงการมัดแผลที่แน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้หลอดเลือดที่เสียหายรุนแรงมากกว่าเดิม
3. สังเกตบาดแผล หากอวัยวะนั้นขาดออกไปต้องมีการเก็บรักษาที่ถูกวิธี เพื่อคงสภาพอวัยวะส่วนนั้นให้สมบูรณ์และสามารถนำกลับมาต่ออวัยวะได้ แต่หากเป็นการบาดเจ็บและอวัยวะยังเชื่อมอยู่ด้วยกัน ให้พยายามประคองอวัยวะที่บาดเจ็บอย่างระมัดระวัง จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

วิธีเก็บรักษาอวัยวะส่วนที่ขาด

  • กรณีที่ผู้บาดเจ็บนิ้วขาด แขนขาด มือขาด หรือขาขาด ควรใช้ถุงพลาสติกสะอาดสวมแล้วรัดปากถุงให้แน่น จากนั้นจุ่มทั้งถุงลงในน้ำที่มีน้ำแข็งอยู่ด้วย เพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เย็นจนเกินไป (อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 4 องศาเซลเซียส)
  • ห้ามนำอวัยวะที่ขาดแช่ในน้ำแข็งที่ไม่มีน้ำปนเด็ดขาด เพราะเนื้อเยื่อจะเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง จะทำให้เซลล์ตาย
  • การเก็บรักษาด้วยวิธีนี้ จะช่วยให้นิ้วทนการขาดเลือดได้ถึง 24 ชั่วโมง แขน ขา มือ ทนการขาดเลือดได้ถึง 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด

แพทย์ประเมินบาดแผล (ก่อน)ต่ออวัยวะอย่างไรบ้าง ?

เมื่อผู้บาดเจ็บถูกส่งตัวถึงโรงพยาบาล แพทย์เฉพาะทางด้านการต่ออวัยวะ หรือจุลศัลยแพทย์ (Micro Surgeon) ซึ่งเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเชื่อมต่อ เส้นเลือดและเส้นประสาทขนาดเล็ก(ตั้งแต่ 0.6 มิลลิเมตร) มาประเมินอาการบาดเจ็บก่อนการผ่าตัดรักษา ดังนี้

1. ประเมินอาการบาดเจ็บของผู้บาดเจ็บ ว่าผู้บาดเจ็บนั้นมีการบาดเจ็บเฉพาะบริเวณอวัยวะที่ขาด หรือมีการบาดเจ็บของระบบร่างกายส่วนอื่นด้วย เช่น สมอง ช่องท้อง ทรวงอก เพื่อเร่งรักษาอวัยวะที่เสียหายหนักก่อน รวมถึงประเมินสุขภาพและความแข็งแรงของผู้บาดเจ็บว่าจะสามารถทนการผ่าตัดต่ออวัยวะเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงได้หรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง เป็นต้น
2. ประเมินสภาพอวัยวะ 

  • เหมาะที่จะผ่าตัดต่ออวัยวะกลับเข้าไปใหม่หรือไม่ เช่น มือที่แหลกเหลว จากเครื่องบดเนื้อหรือถูกปั้นจั่นทับ เป็นต้น การเก็บรักษาถูกต้องหรือไม่ 
  • ความเสียหายของเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะส่วนของแขนและขา เพราะหากทิ้งไว้นานเกิน 6-8 ชั่วโมง กล้ามเนื้อซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ทนต่อการขาดเลือดมาเลี้ยงนานๆ ไม่ได้ จะเกิดการสลายตัวจนเกิดเป็นของเสียที่อาจกระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือติดเชื้อรุนแรงได้ในเวลาต่อมา และอาจทำให้ผู้บาดเจ็บเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ 

3. ผ่าตัดต่ออวัยวะให้กับผู้บาดเจ็บ

  • ต่ออวัยวะเบื้องต้นด้วยการยึดกระดูกที่หักเข้ากันด้วยโลหะดาม
  • เย็บซ่อมแซมเส้นเลือดดำ เส้นเลือดแดง เส้นประสาทโดยใช้เทคนิคทางจุลศัลยกรรม โดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง ใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ มีความละเอียดอ่อนมาก ใช้ไหมเย็บเส้นเลือดขนาดเล็กๆ เพื่อให้เลือดสามารถไหลไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนที่ขาดได้
  • เย็บซ่อมแซมเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ รวมถึงเย็บตกแต่งบริเวณบาดแผลที่ผิวหนัง โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าควรทำขั้นตอนไหนก่อน-หลัง เช่น เนื้อเยื่อถ้าขาดเลือดมานานแล้ว หรือมาพบแพทย์ค่อนข้างช้า อาจต้องผ่าตัดต่อเส้นเลือดแดงเป็นอันดับแรก เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อให้ได้ก่อน

หลังการผ่าตัดต่ออวัยวะ ผู้บาดเจ็บจะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจนแน่ใจว่าปลอดภัยแล้ว แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้

ฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดต่ออวัยวะ

หากกระดูกมีการเชื่อมติดกันได้ดีแล้ว ผู้ป่วยควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดตามเหมาะสม หรือในบางเคสอาจต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม เพื่อผลการรักษาดีที่สุด เช่น

  • การผ่าตัดแก้ไขการยึดติดของเส้นเอ็น ข้อหรือการผ่าตัดเพื่อสร้างเส้นเอ็นใหม่
  • การผ่าตัดเพื่อเชื่อมกระดูกเพิ่มเติม ในกรณีกระดูกไม่ติดแข็งแรงในเวลาที่เหมาะสม
  • การผ่าตัดเพื่อถอดโลหะดามกระดูกออก เพื่อเริ่มการทำกายภาพบำบัด

จะเห็นว่าการผ่าตัดต่ออวัยวะนั้น เป็นอีกหนึ่งกระบวนการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน โดยมี ‘เวลา’ เป็นคู่แข่งตัวฉกาจ การต่ออวัยวะจึงควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการโดยเฉพาะ เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว

หมอ

ขอขอบคุณบทความจาก 
นายแพทย์วิชิต ศิริทัตธำรง
สาขา: ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ)

หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้
โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7
02 033 2900 หรือสายด่วน 1609
FanPage : fb.com/chularat3
Line : @chularat3

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

Recent posts

logo

Chularat 3 International Hospital

88/8-9, Theparak Rd. Km.14.5, Tumbon Bangpla, Amper Bangplee, Samutprakarn, 10540

Important links 1

DoctorsClinics

Contact Us

call: 02-033-2900email: [email protected]Monday - Sunday: 08.00 - 20.30
https://www.facebook.com/https://line.me/https://www.youtube.com/

Copyright © Chularat Hospital Group All rights reserved.
This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy