รู้จักยารักษามะเร็ง (Systemic therapy) ทางเลือกและความหวังของการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

article-รู้จักยารักษามะเร็ง (Systemic therapy) ทางเลือกและความหวังของการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

Tuesday 23 April 2024

by Dr.EKKAMOL PHAIBULVATANAPONG

5.00

‘มะเร็ง’ แค่ได้ยินชื่อนี้ก็ทำให้หลายคนกลัวและอาจถึงขั้นหมดกำลังใจ เพราะเป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน เกิดขึ้นได้กับทุกวัย และส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการหรือสัญญาณเตือนใดๆ กว่าที่ผู้ป่วยจะรู้ตัวจึงเพิ่มระดับความรุนแรงจนยากจะควบคุม แต่ด้วยวิวัฒนาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบัน ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งผ่านการค้นคว้า วิจัย นำมาสู่การพัฒนายารักษามะเร็ง (Systemic therapy) ที่ไม่เพียงสามารถรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ แต่ยังเป็นเสมือนทางเลือกและความหวังใหม่ในการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การใช้ยาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง (Systemic therapy) นั้นแบ่งตามวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. การรักษาก่อนผ่าตัด (Neoadjuvant treatment) เพื่อช่วยให้การผ่าตัดง่ายยิ่งขึ้น เปลี่ยนก้อนมะเร็งที่ผ่าตัดไม่ได้ ให้สามารถผ่าตัดได้ จากผ่าตัดมากเป็นผ่าตัดน้อย
  2. การรักษาเสริม (Adjuvant treatment) แม้ว่าการผ่าตัด จะเป็นการนำมะเร็งเกือบทั้งหมดออกไปจากร่างกาย แต่ยังมีมะเร็งบางส่วนที่เล็กมากอยู่ในระบบเลือดและน้ำเหลือง ทำให้มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคซ้ำได้ การรักษาเสริมจึงช่วยลดโอกาสที่โรคจะกลับมาใหม่ได้ และเพิ่มโอกาสหายขาดของมะเร็ง
  3. การรักษาร่วมกันกับการฉายแสง (Concurrent chemoradiation) ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่มีการแพร่กระจายของตัวโรคไปทั่วร่างกาย แต่ตัวโรคเองนั้นทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างยากลำบาก หรือมีโอกาสประสบความสำเร็จในการผ่าตัดไม่มาก ในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการฉายแสง และให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการฉายแสง
  4. การรักษาในผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของตัวโรค (Palliative aim) การใช้ยารักษามะเร็ง  (Systemic therapy) ในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจาย มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และเพิ่มระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วย

ยารักษามะเร็ง (Systemic therapy) ในปัจจุบันมียาอะไรบ้าง

1. ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
เป็นยาที่อยู่คู่กันกับโรคมะเร็งมานาน โดยตัวยาจะเป็นพิษต่อเซลล์ ทั้งในเนื้อร้ายและในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราเอง โดยมีข้อดีคือใช้ได้หลากหลายที่สุด มีมานาน จึงมั่นใจในความปลอดภัยได้เนื่องจากรู้จักผลข้างเคียงมาอย่างดี แต่มีข้อเสียคือมีผลข้างเคียงมาก

2. ยาต้านฮอร์โมน (Hormonal Treatment)
นับเป็นยามุ่งเป้าแบบหนึ่งซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด สามารถใช้ได้ในมะเร็งบางชนิดที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม ที่มีตัวรับฮอร์โมน (hormone receptor positive breast cancer) หรือมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรก

3. ยามุ่งเป้า (Targeted therapy)
ในปัจจุบันมีการค้นพบกลไกในการเกิดมะเร็งมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนายาซึ่งจำเพาะต่อกลไกในการเกิดต่างกันในมะเร็งชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยาและลดผลข้างเคียงอันเกิดมาจากยา

ซึ่งยา Targeted therapy รักษาแบบมุ่งเป้านี้มีทั้งรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทานและแบบฉีด ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของมะเร็ง ทั้งนี้ในมะเร็งชนิดเดียวกัน ในผู้ป่วยคนละคน อาจมีการรักษาแบบมุ่งเป้าไม่เหมือนกันอีกด้วย

ยารักษามะเร็ง

การตรวจสารพันธุกรรม (whole genome sequencing) เพื่อหาการกลายพันธุ์และความผิดปกติในปัจจุบัน ราคาถูกลงมาก และยังใช้เวลาลดลงอย่างมาก จึงกลายเป็นกระแสที่จะมีการตรวจมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี พบว่าแม้มีการกลายพันธุ์หรือมีความผิดปกติ แต่บ่อยครั้ง ความผิดปกตินั้น ก็ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค จึงยังไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าจำเป็นจะต้องทำในผู้ป่วยทุกราย

4. สารเภสัชรังสี (Therapeutic Radiopharmaceuticals) แค่ฟังชื่อ แม้แต่หมอบางคน ได้ยินแล้วก็ยังคงมึนๆ การใช้สารเภสัชรังสีนั้น จะเป็นการรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยเป็นสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีความจำเพาะต่ออวัยวะเฉพาะจุด เข้าไปทำลายเนื้อร้ายของอวัยวะนั้นๆ เช่น Iodine-131 ในมะเร็งไทรอยด์, Radium-223 ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากลามมากระดูก หรือ Yttrium-90 ในมะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ที่ลามมาตับ เป็นต้น

5. ยารักษาด้วยภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) นับเป็นความหวังล่าสุดของผู้ป่วยมะเร็ง ในการพัฒนายาใหม่ขึ้นมา เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง และผลข้างเคียงต่ำ เพราะเป็นการบอกภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง ให้ไปทำลายมะเร็ง ซึ่งในปัจจุบัน ยาที่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ และได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ทั่วโลกแล้ว ได้แก่

  • Anti PDL-1 : Nivolumabซึ่งได้รับการอนุมัติใน มะเร็งเม็ดสีผิวหนัง (Malignant Melanoma), มะเร็งปอด (Non-Small Cell Lung Cancer), มะเร็งไต (Renal Cell Carcinoma), มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin´s Lymphoma), มะเร็งของศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer), มะเร็งทางเดินปัสสาวะ (Urothelial Carcinoma), มะเร็งลำไส้ใหญ่ บางราย (Colorectal Cancer) Pembrolizumab ซึ่งได้รับการอนุมัติใน มะเร็งเม็ดสีผิวหนัง (Malignant Melanoma), มะเร็งปอด (Non-Small Cell Lung Cancer), มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin´s Lymphoma), มะเร็งของศีรษะและลำคอ (Head and Neck Cancer), มะเร็งทางเดินปัสสาวะ (Urothelial Carcinoma)
  • Anti PD-1 : Atezolizumabซึ่งได้รับการอนุมัติใน มะเร็งปอด (Non-Small Cell Lung Cancer), มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

จากข้อมูลของ องค์กร free to breathe มีภาพแสดงให้เห็นถึงหลักการการทำงานของยาแบบเข้าใจง่ายๆ

ยารักษามะเร็ง
เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ทำลายสิ่ง แปลกปลอมในร่างกาย
ยารักษามะเร็ง
แต่บางครั้ง เซลล์มะเร็งจะสร้างโปรตีนที่ทำให้เม็ดเลือดขาวมองไม่เห็น เปรียบเสมือนมีผ้ามาปิดตา
ยารักษามะเร็ง
ยา Immunotherapy จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดขาวถูกปิดตาได้ จึงสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ตามปกติ

แต่อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่ายากลุ่มนี้ ยังไม่สามารถใช้ได้ในมะเร็งทุกชนิด และมะเร็งชนิดที่ได้รับการอนุมัติแล้วก็ยังต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม ว่ามีตัวรับที่จะสามารถใช้ยาดังกล่าวได้ โดยสรุป การรักษาทั้งหมดนี้ ควรที่จะใช้ยาที่มีหลักฐานการวิจัยแล้วว่า ใช้ได้ผลจริง และมีผลเสียต่อตัวผู้ป่วยมากกว่าประโยชน์ที่ได้ มิใช่มีเพียงคำพูดที่พูดต่อๆกันมา หรือเป็นคำโฆษณา เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยเอง

แต่อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่ายารักษามะเร็ง (Systemic therapy) กลุ่มนี้ ยังไม่สามารถใช้ได้ในมะเร็งทุกชนิด และมะเร็งชนิดที่ได้รับการอนุมัติแล้วก็ยังต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม ว่ามีตัวรับที่จะสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

โดยสรุป การรักษาทั้งหมดนี้ควรใช้ยารักษามะเร็ง (Systemic therapy) ที่มีหลักฐานการวิจัยแล้วว่าใช้ได้ผลจริง และมีผลเสียต่อตัวผู้ป่วยมากกว่าประโยชน์ที่ได้ มิใช่มีเพียงคำพูดที่พูดต่อๆ กันมา หรือเป็นคำโฆษณา เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยเอง
รู้จักยารักษามะเร็ง (systemic Therapy) ทางเลือกและควา

ขอขอบคุณบทความจาก
นายแพทย์เอกกมล ไพบูลย์วัฒนพงศ์
สาขา: อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้
โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
02 033 2900 หรือสายด่วน 1609
FanPage : fb.com/chularat3
Line : @chularat3

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

Recent posts

logo

Chularat 3 International Hospital

88/8-9, Theparak Rd. Km.14.5, Tumbon Bangpla, Amper Bangplee, Samutprakarn, 10540

Important links 1

DoctorsClinics

Contact Us

call: 02-033-2900email: [email protected]Monday - Sunday: 08.00 - 20.30
https://www.facebook.com/https://line.me/https://www.youtube.com/

Copyright © Chularat Hospital Group All rights reserved.
This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy