นิ้วเกิน (Polydactyly)

article-นิ้วเกิน (Polydactyly)

Tuesday 23 April 2024

by Dr.WICHIT SIRITATTAMRONG

5.00

ภาวะนิ้วเกิน หมายถึง

ภาวะที่มือหรือเท้าแต่ละข้างมีนิ้วมากกว่า 5 นิ้ว โดยภาวะนี้เป็นความผิดปกติแต่กําเนิดของมือที่พบได้ บ่อยที่สุด นิ้วที่เกินมาอาจมีขนาดเล็กเป็นติ่งเนื้อไม่มีกระดูกเลยหรือมีกระดูกชิ้นเล็กๆ แต่ตรงส่วนโคนไม่มีกระดูกติดกับกระดูกปกติมีเพียงผิวหนังที่คอดเล็กคล้ายขั้วผลไม้ (รูปที่ 1) หรือนิ้วที่เกินมีการพัฒนาจนมีกระดูกและเล็บสมบูรณ์คล้ายนิ้วปกติ แต่มักมีขนาดเล็กกว่าและเส้นเอ็นที่ควบคุมการงอเหยียดข้อต่อมักไม่สมบูรณ์ ส่วนโคนกระดูกมีการเชื่อมติดกับเนื้อกระดูกหรือข้อต่อของนิ้วปกติ (รูปที่ 2) นิ้วที่เกิน  อาจพบที่มือข้างเดียวหรือ 2 ข้างและอาจพบที่เท้าร่วมด้วย ภาวะนิ้วเกินอาจเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวในร่างกายหรือเกิด ร่วมกับความผิดปกติของอวัยวะอื่นเป็นกลุ่มโรค (syndrome) ก็ได้

นิ้วเกิน (1)
รูปที่ 1: นิ้วที่เกินเป็นเพียงติ่งเนื้อรูปที่                                                                 2: นิ้วที่เกินทางด้านนิ้วหัวแม่มือ (preaxial polydactyly) และมีการพัฒนาจนมีกระดูกและเล็บสมบูรณ์

สาเหตุ

ภาวะนิ้วเกินเกิดจากความผิดปกติในการสร้างนิ้วมือหรือเท้าของทารกในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แต่ยังไม่พบปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดภาวะนิ้วเกิน อาจเกิดความแปรปรวนของการแบ่งเซลล์ในระยะสร้างนิ้ว แต่มีนิ้วเกินบางชนิดพบว่ามีสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

การจําแนกประเภทของนิ้วเกิน

ภาวะนิ้วเกินอาจแบ่งตามตําแหน่งของนิ้วที่เกินได้เป็น นิ้วเกินทางด้านนิ้วก้อย (postaxial polydactyly) (รูปที่ 3) ซึ่งพบได้น้อยกว่าชนิดที่นิ้วเกินทางด้านนิ้วหัวแม่มือ (preaxial polydactyly) (รูปที่ 2)

1
รูปที่ 3: นิ้วเกินทางด้านนิ้วก้อย

สําหรับนิ้วเกินทางด้านนิ้วหัวแม่มืออาจแบ่งตามความลึกของนิ้วเกินเป็นชนิดย่อยๆได้อีกหลายชนิด เริ่มจากนิ้วเกินเฉพาะส่วนปลายนิ้วเห็นเล็บติดกันสองอันหรือแยกห่างเล็กน้อย (รูปที่ 4) ไปจนถึงนิ้วที่เกินแยกห่างกันถึงระดับข้อต่อโคนนิ้วหัวแม่มือ (รูปที่ 5) ซึ่งการแบ่งชนิดของนิ้วเกินตามความลึกนี้จะมีประโยชน์ในแง่ของการวางแผนการผ่าตัดรักษา

1.3 (1)
รูปที่ 4: นิ้วเกินเฉพาะส่วนปลายนิ้วเห็นเล็บติดกันสองอันรูปที่                                                       5: นิ้วที่เกินแยกห่างกันถึงระดับข้อต่อโคนนิ้วหัวแม่มือ

นอกจากนี้การแบ่งนิ้วเกินทางด้านหัวแม่มือ อาจแบ่งตามทิศทางของนิ้วเกิน คือนิ้วเอียงออกจากกัน (divergence) (รูปที่ 6) หรือนิ้วเอียงเข้าหากันแบบก้ามปู (convergence) (รูปที่ 7) ซึ่งชนิดนี้จะมีการคดงอของกระดูกและข้อต่อของทั้งนิ้วที่เกินและนิ้วปกติเข้าหากัน

1.5 (1)
รูปที่ 6: นิ้วเกินชนิดเอียงออกจากกัน                                                                         รูปที่ 7: นิ้วเกินชนิดเอียงเข้าหากันแบบก้ามปู

การรักษา

ในกรณีที่นิ้วเกินเป็นติ่งเล็กๆโดยที่โคนไม่มีกระดูกเชื่อมต่อกัน นิ้วเกินชนิดนี้จะไม่มีผลต่อกระดูกและข้อต่อของนิ้วหัวแม่มือที่ดี สามารถรักษาได้โดยตัดโคนออกได้ง่ายๆ อาจทําตั้งแต่แรกคลอด โดนการผูกขั้วโคนนิ้วที่ติดกันให้เนื้อเยื่อตายและหลุดไปเองหรือตัดออกในเวลาใดก็ได้เพราะไม่มีผลต่อการผิดรูปของนิ้วปกติ แต่ในกรณีที่นิ้วเกินมีกระดูกเชื่อมต่อหรือใช้ข้อต่อร่วมกันกับนิ้วปกติ การผ่าตัดจะมีความซับซ้อนขึ้น นอกจากตัดนิ้วที่เกินออกต้องย้ายเอ็นยึดข้อต่อและกล้ามเนื้อที่เดิมเกาะอยู่ที่นิ้วเกินมายังโคนนิ้วปกติ รวมทั้งตัดและจัดมุมของกระดูกโคนนิ้วใหม่เพื่อให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ในตําแหน่งที่เหมาะสม นอกจากเพื่อให้กระดูกและข้อรวมทั้งกล้ามเนื้อโคนนิ้วมีการพัฒนาได้ดีแล้ว ยังทําให้นิ้วดูสวยงามใกล้เคียงปกติ มากที่สุด การตัดนิ้วที่เกินแต่เพียงอย่างเดียวจะไม่เหมาะสมเพราะเมื่อผู้ปวยโตขึ้น ่ ข้อโคนนิ้วจะดูใหญ่กว่าปกติ นิ้วห้วแม่มือจะเอียงเข้าหานิ้วชี้ ส่งผลให้ช่องระหว่างนิ้วแคบกว่าปกติ กล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มืออ่อนแรงและมีการเอียงผิดรูปของกระดูกและข้อต่อส่วนปลายนิ้วได้ (รูปที่ 8)

1.7 (1)
รูปที่ 8: การตัดเฉพาะนิ้วที่เกินออกอย่างเดียวทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นนิ้วหัวแม่มือจะดูไม่สวย ข้อโคนนิ้วใหญ่กว่าปกติ ปลายนิ้วเอียงโค้งเข้า หานิ้วชี้ทําให้ช่องระหว่างนิ้วแคบ
ปลายกระดูกและข้อเอียงผิดรูปเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือลีบไม่แข็งแรง

เวลาที่เหมาะสมสําหรับการผ่าตัด     

นิ้วเกินชนิดที่มีกระดูกหรือข้อต่อเชื่อมต่อกันควรได้รับการผ่าตัดในระหว่างอายุ 1 – 3 หรือ4 ปี (ก่อนเข้าโรงเรียน) เพื่อให้โครงสร้างของกระดูกและข้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือพัฒนาได้อย่างเหมาะสมและไม่มีการเอียงผิดรูปเพิ่มเติมในส่วนปลายนิ้ว  รวมถึงเพื่อให้เด็กไม่รู้สึกมีปมด้อยและถูกล้อเลียนเมื่อเข้าสังคม หากมารักษาหลังจากนั้นก็สามารถผ่าตัดได้แต่อาจมีความผิดรูปของ กระดูกและข้อส่วนปลายนิ้วห้วแม่มือที่ถูกปรับให้เกิดขี้นตามเวลาหลงเหลืออยู่ หรืออาจต้องแก้ไขโดยการผ่าตัดเพิ่มขึ้นหลักการผ่าตัดรักษาประกอบด้วย 1) ตัดนิ้วส่วนเกินออก 2) ตัดหัวกระดูกที่รองรับนิ้วส่วนเกินที่ใหญ่กว่าปกติออก 3) ย้ายเอ็น ยึดข้อและกล้ามเนื้อที่ติดกับนิ้วส่วนเกินมายังฐานนิ้วที่ปกติ 4) อาจจําเป็นต้องตัดกระดูกโคนนิ้วเพื่อจัดตําแหน่งให้นิ้วที่เหลืออยู่ในตําแหน่ง เหมาะสมใกล้เคียงปกติมากที่สุด (รูปที่ 9-10)

1.9
รูปที่ 9: การผ่าตัดประกอบด้วย การตัดนิ้วส่วนเกินออกและตัดหัวกระดูกที่รองรับนิ้วส่วนเกินที่ใหญ่กว่าปกติ และกล้ามเนื้อมายังฐานนิ้วที่ปกติ ตัดแต่งมุมกระดูกโคนนิ้วเพื่อให้นิ้วตรงขึ้นไม่เอียงเข้าหานิ้วชี้
นิ้วเกิน1..2 (1)
รูปที่ 10.1: ก่อนผ่าตัดนิ้วเกินด้านนิ้วหัวแม่มือชนิดที่พบได้บ่อย
1.11 (1)
รูปที่ 10.2: หลังผ่าตัดตามหลักการ 4 ขั้นตอน
1.13 (1)
รูปที่ 10.3: ภาพรังสีก่อนและหลังผ่าตัด
1.15 (1)
รูปที่ 10.4: ภาพนิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายหลังการผ่าตัด 9 เดือน นิ้วหัวแม่มืออยู่ในตําแหน่งปกติ ไม่เอียงเข้าหานิ้วชี้
ช่องระหว่างนิ้วกว้าง กล้ามเนื้อโคนนิ้วแข็งแรงและส่วนปลายนิ้วไม่มีการเอียงผิดรูปเพิ่มเติม
Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

Recent posts

logo

Chularat 3 International Hospital

88/8-9, Theparak Rd. Km.14.5, Tumbon Bangpla, Amper Bangplee, Samutprakarn, 10540

Important links 1

DoctorsClinics

Contact Us

call: 02-033-2900email: [email protected]Monday - Sunday: 08.00 - 20.30
https://www.facebook.com/https://line.me/https://www.youtube.com/

Copyright © Chularat Hospital Group All rights reserved.
This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy