ทารกน้ำหนักตัวน้อย

article-ทารกน้ำหนักตัวน้อย

Wednesday 24 April 2024

by Dr..ANYAMANEE CHUALAOVANICH

5.00

ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ซึ่งรวมทั้งทารกที่คลอดก่อนกำหนด คืออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และทารกครบกำหนดคือ มีอายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์

สาเหตุจากมารดา ได้แก่

  • มารดาอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
  • การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ซิฟิลิส, เริม ) ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
  • มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่หรือใกล้ชิดคนสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • ภาวะทุพโภชนาการ
  • การตั้งครรภ์เสี่ยง เช่น ครรภ์แฝด
  • ประวัติมีบุตรน้ำหนักตัวน้อยมาก่อน
  • ความผิดปกติของมดลูกหรือปากมดลูก
  • น้ำเดินก่อนคลอด
  • มีภาวะเลือดข้นขณะตั้งครรภ์

สาเหตุจากตัวทารกเอง ได้แก่

  • การติดเชื้อในครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส
  • ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย
  • ความพิการแต่กำเนิด

ปัญหาที่พบเมื่อทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย

  • ระบบทางเดินหายใจของทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ปอดอาจจะยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทำให้มีภาวะหายใจลำบากตั้งแต่แรกเกิดได้
  • การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เนื่องจากทารกมีผิวหนังค่อนข้างบาง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย ทำให้สูญเสียความร้อนได้มาก เกิดภาวะตัวเย็นได้ง่าย
  • ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่างๆได้ไม่ดี ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทารกที่น้ำหนักน้อยยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันเลือดต่ำ จึงเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้ง่าย

วิธีป้องกันทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

  • คนท้องต้องรับประทานอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หลีกเลี่ยงการทำงานหนักและต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  •  ที่สำคัญคือการไปฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆกับสูตินรีแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และตรวจดูความเสี่ยงต่างๆในการตั้งครรภ์ เพื่อการดูแลที่ดีและถูกต้อง
  • มาฝากครรภ์สม่ำเสมอเพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

Recent posts

logo

Chularat 3 International Hospital

88/8-9, Theparak Rd. Km.14.5, Tumbon Bangpla, Amper Bangplee, Samutprakarn, 10540

Important links 1

DoctorsClinics

Contact Us

call: 02-033-2900email: [email protected]Monday - Sunday: 08.00 - 20.30
https://www.facebook.com/https://line.me/https://www.youtube.com/

Copyright © Chularat Hospital Group All rights reserved.
This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy