ต้อกระจก (Cataract)

article-ต้อกระจก (Cataract)

Thursday 04 April 2024

by

5.00

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ ก็จะเริ่มเกิดการเสื่อมขึ้นตามอวัยวะต่างๆ เช่น ข้อเสื่อม หากเกิดที่สมองก็เกิดสมองเสื่อม เกิดที่หูก็หูตึง เกิดที่ระบบสืบพันธุ์ก็เกิดกามตายด้าน หากเกิดที่ตา โดยเฉพาะเลนส์แก้วตา เรียกว่า “ต้อกระจก”

แก้วตา (Lens)

เป็นเลนส์นูนใสอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่ร่วมกับกระจกตาในการหักเหแสงให้ตกโฟกัสที่จอประสาทตา จึงทำให้เกิดการมองเห็น

ต้อกระจก (Cataract)

เกิดจากเลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งพบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ต้อกระจก ทำให้การมองเห็นแย่ลง ผู้ที่มีอาการของต้อกระจกมักจะมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนปกติ บางครั้งมองเห็นชัดเจนกว่าในที่มีแสงน้อย เนื่องจากอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลางในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยายแสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ ต้อกระจกสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้อีก เช่น ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไฟดูดหรือการติดเชื้อเรื้อรังที่ดวงตา และการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ สามารถทำให้เกิด “ต้อกระจก” ได้ด้วย

อาการของต้อกระจก

  • มองไม่ชัด เป็นอาการเด่นของต้อกระจก คือตาค่อยๆมัวลงอย่างช้าๆโดยไม่มีอาการอื่น อาการตามัวจะเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า เช่น เมื่อออกแดด แต่กลับมองเห็นเกือบเป็นปกติในที่มืดสลัวหรือเวลาพลบค่ำ

  • เห็นภาพซ้อน แม้ว่าจะมองด้วยตาข้างเดียว เนื่องจากการหักเหของแสงไม่ลงที่จอประสาทตา

  • เห็นวงรอบแสงไฟ

  • อ่านหนังสือต้องใช้แสงจ้า

  • ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย

  • เห็นฝ้าขาว บริเวณกลางรูม่านตาในผู้ที่ต้อกระจกสุก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

สาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากวัยสูงอายุ เช่น

  • โรคเบาหวาน

  • ประวัติครอบครัวเป็นต้อกระจก

  • เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา

  • การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์

  • ติดสุรา

  • เจอแสงแดดมาก

  • ต้องสัมผัสรังสีปริมาณมาก

  • สูบบุหรี่

  • เด็กที่ขาดสารอาหาร

การคัดกรอง

  • อายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจตาทุกปี

  • ตรวจตาเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง

การรักษาต้อกระจก การรักษาขึ้นกับสภาพของต้อกระจก

  • ต้อที่เพิ่มจะเริ่มเป็นไม่มากสามารถรอได้ ระหว่างนี้ควรตรวจตาตามที่แพทย์นัด

  • ต้อที่แก่หรือใกล้สุก ควรเตรียมให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด

  • ต้อที่สุกและเริ่มมีโรคแทรกซ้อนให้ทำการผ่าตัด

การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัด

วิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี

  • Phacoemulsication เป็นวิธีที่นิยมที่สุด โดยการเจาะรูเล็กๆแล้วใช้เครื่อง Ultrasound สลายเลนส์และดูดออกทีละนิดจนหมด วิธีนี้แผลจะเล็ก โดยส่วนใหญ่จะไม่ต้องเย็บแผล

  • Extracapsular Cataract Extraction การผ่าตัดเป็นแผลกว้าง โดยนำเอาเลนส์ที่เสียออกทั้งชิ้น วิธีนี้แผลจะใหญ่ ต้องเย็บแผล

หลังจากเอาเลนส์ออกแล้ว แพทย์จะใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าแทนที่อันเดิม หลังผ่าตัดอาจมีอาการระคายเคือง ต้องใส่เครื่องป้องกันการขยี้ตาในช่วงเวลากลางคืน และใส่แว่นช่วงกลางวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หลังผ่าตัด 1 วัน จะทำให้เห็นชัดขึ้น แต่จะชัดที่สุดคือหลังผ่าตัด 4 สัปดาห์

หลังผ่าตัด หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์

  • ตามองไม่เห็น

  • ปวดตาตลอด

  • ตาแดงมากขึ้น

  • เห็นแสงแปล๊บๆ

  • คลื่นไส้อาเจียน

  • ปวดศีรษะและไอ

การป้องกัน

  • งดสูบบุหรี่

  • หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

Recent posts

logo

Chularat 3 International Hospital

88/8-9, Theparak Rd. Km.14.5, Tumbon Bangpla, Amper Bangplee, Samutprakarn, 10540

Important links 1

DoctorsClinics

Contact Us

call: 02-033-2900email: [email protected]Monday - Sunday: 08.00 - 20.30
https://www.facebook.com/https://line.me/https://www.youtube.com/

Copyright © Chularat Hospital Group All rights reserved.
This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy