ลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก
Home
»
Knowledge of Health
» ลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก
ลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก 80% เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อ ฮิวแมนแพ็บปิลโลม่า(HPV) ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงที่ติดเชื้อจากการร่วมเพศใช้เวลาประมาณ10 ปี จะพบว่าปากมดลูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งโดยระยะแรกปากมดลูกจะเป็นแผลเล็กๆที่ยังไม่เป็นมะเร็งทำการรักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ทำการรักษาตั้งแต่แรกแผลนั้นจะกลายเป็นมะเร็งต่อไป
ภาวะเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้แก่
- มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย (อายุต่ำกว่า20ปี)
- หญิงที่มีคู่นอนหลายคน
- มีอาการอักเสบของปากมดลูก เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพ็บปิลโลม่า (HPV)
- หญิงที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก มากกว่าหญิงที่ไม่สูบบุหรี่
- สตรีที่เคยได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานานหรือเคยได้รับการฉายรังสีบริเวณเชิงกราน
- สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก
อาการของมะเร็ง
ระยะแรก จะไม่ปรากฏอาการใดๆแต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ระยะลุกลาม จะมีอาการต่อไปนี้
- ตกขาวมีกลิ่น หรือตกขาวคล้ายน้ำคาวปลา
- มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
- ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
- มีความผิดปกติระบบขับถ่ายอุจจาระ
นอกจากนี้มะเร็งยังสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆเช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ และกระดูกได้ด้วย
จะป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร
- มีเพศสัมพันธ์เมื่อถึงวัยอันควร
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เมื่อมีอาการตกขาวผิดปกติ หรือเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์
*ถ้าเป็นไปได้การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV เพื่อป้องกันการติดเชื้อ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไป
**หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคน ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกปีละ 1 ครั้ง
ใครบ้างที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปทุกคน
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคนควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง
การรักษา
ระยะแรก - การผ่าตัดเป็นวิธีที่รักษาได้ผลดี
ระยะลุกลาม - รักษาโดยรังสีรักษา โดยฉายแสงร่วมกับการใส่แร่หรือการผสมผสานระหว่างการผ่าตัด รังสีรักษา และการใช้ยาเคมีบำบัด