การตรวจสุขภาพตา (The Importance of Comprehensive Eye Exams)

 Home
» Knowledge of Health » การตรวจสุขภาพตา (The Importance of Comprehensive Eye Exams) แบ่งปันไปยัง facebook

การตรวจสุขภาพตา  The Importance of Comprehensive Eye Exams

   

สาเหตุที่ต้องตรวจสายตา

      ท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องตรวจสุขภาพตา หากท่านไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา หรือการมองเห็น แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคทางตาบางโรค ไม่แสดงอาการให้เห็นจนกว่าจะอยู่ใน ขั้นที่รุนแรง ซึ่งอาจไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้ ดังนั้นท่านจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตา อย่างละเอียดอย่างน้อยสองปีต่อหนึ่งครั้ง และเมื่อท่านอายุ 40ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โอกาสที่จะเกิดโรคทางตามีสูงขึ้นพร้อมกับอายุที่มากขึ้น ตัวอย่างเช่น โรคต้อหินพบใน  ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ซึ่งไม่มีอาการใดๆ เลยประมาณ 0.5%


ขั้นตอนการตรวจมี 4 ขั้นตอน

1.การวัดระดับการมองเห็นด้วยตาเปล่า

      ขั้นตอนแรกในการตรวจสุขภาพตา คือการวัดระดับการมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งช่วยให้ทราบว่าท่าน สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ดีมากเท่าไร โดยการอ่านแผนภูมิตัวเลขซึ่งมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ผลของการวัดระดับการมองเห็นด้วยตาเปล่าจะได้รับการวัดออกมาในระยะห่าง20ฟุต โดยเทียบกับการมองเห็นของคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น การมองเห็นในระดับ 20/200 หมายถึง ตัวเลขที่เล็กที่สุดที่ท่านสามารถอ่านได้ ในระยะห่าง 20ฟุต คนทั่วไปสามารถอ่านได้ในระยะ 200ฟุต ซึ่งหมายความว่าท่านไม่สามารถมองเห็นได้ดี เท่ากับคนทั่วไป การสอบใบขับขี่ด้วยตาเปล่าผ่านได้ จะต้องมีการมองเห็นอยู่ที่ระดับ 20/40
       ดังนั้นการมองเห็นในระดับ 20/40 จึงถือเป็นการมองเห็นปกติตามกฎหมาย สำหรับการมองเห็นในระดับ 20/20 ถือว่า เป็นการมองเห็นที่ดีที่สุด หากท่านไม่สามารถมองเห็นได้ในระดับ 20/20 ขั้นตอนต่อไปในการตรวจ คือ การตรวจด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการตรวจหาความผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง

2. การวัดสายตาด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ

     หากท่านไม่สามารถมองเห็นได้ในระดับ 20/20 การตรวจด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ สามารถ ตรวจหาความผิดปกติในการมองเห็นของท่านได้ เช่น สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง ซึ่งเกิดจากกำลังการรวมแสงไม่พอดีกับความยาวของลูกตา การวัดสายตาด้วยเครื่องวัดอัตโนมัติ สามารถหาค่าความผิดปกติในการมองเห็นของท่าน และมีการเปลี่ยนเลนส์ในแบบต่างๆ เพื่อให้ได้การมองเห็นที่ดีที่สุดในตาแต่ละข้าง ซึ่งจักษุแพทย์จะใช้ผลจากการวัดสายตานี้ เพื่อใช้ตัดแว่นสายตาซึ่งเหมาะสมกับ ค่าสายตาของท่าน และค่าสายตาที่แน่นอนในการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

3.การวัดความดันตา

                การวัดความดันตา เป็นการตรวจหาโอกาสที่จะเป็นโรคต้อหิน ซึ่งเกิดจากดวงตาไม่สามารถทน ความดันภายในตัวเองได้ ผู้ที่เป็นโรคต้อหินส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดๆ และมีความดันตาสูงกว่าปกติ ซึ่งอยู่ที่ 10-20มิลลิเมตรปรอท หากตรวจแล้วพบว่ามีความดันตาผิดปกติ จักษุแพทย์จะทำการตรวจอย่าง ละเอียดว่าเป็นโรคต้อหินหรือไม่

4.พบจักษุแพทย์

                ขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจสุขภาพตา คือ การพบจักษุแพทย์ โดยจักษุแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด วิเคราะห์ผลการตรวจ และสรุปผลให้ท่านทราบ แพทย์อาจแนะนำให้มีการตรวจเพิ่มเติม อย่างละเอียด เพื่อหาโรคทางตาบางชนิดหรืออาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยในการมองเห็น เช่น แว่นสายตา และอาจมีการรักษาปัญหาที่พบในระหว่างการตรวจ หรือแนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาต่อไป

 
การเตรียมตัวเพื่อตรวจวิเคราะห์สภาพตา (กรณีตรวจก่อนทำเลสิค)

1. งดใส่คอนแทคเลนส์ ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตาคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม(Soft Lens)ควรงดใส่ 3วัน ก่อนตรวจ คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง(Hard Lens) ควรงดใส่ 14วันก่อนตรวจ สามารถใช้แว่นสายตาแทนใน ระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์

2. งดยาบางประเภท งดทานยาแก้สิว ก่อนวันตรวจ 1เดือน งดทานยานอนหลับหรือยาที่มีส่วนผสมของ ยานอนหลับ หากใช้ยาประจำควรแจ้งแพทย์ก่อน

3. ข้อมูลสำคัญอื่นๆที่ควรทราบก่อนการตรวจวิเคราะห์สภาพต แพทย์ผู้ตรวจวิเคราะห์สภาพตาจะเป็นแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดให้กับท่าน

4. เวลาที่ใช้ในวันที่ตรวจวิเคราะห์สภาพตา ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม.(นับจากเวลานัดหมาย)

5. ขั้นตอนในการตรวจวิเคราะห์สภาพตา
    5.1 ลงทะเบียนผู้เข้ารับการรักษาใหม่
    5.2 การรับชมข้อมูล เพื่อศึกษารายละเอียดของการรักษา
    5.3 การตรวจวัดสภาพของดวงตาด้วยเครื่องมือแพทย์ประเภทต่างๆ
    5.4 การตรวจวัดสายตาทั้งก่อนและหลังหยอดยาขยายม่านตา
    5.5 การหยอดยาขยายม่านตา
    5.6 การวิเคราะห์ยาขยายม่านตา
    5.7 การวิเคราะห์สภาพตา ทั้งหมดโดยจักษุแพทย์ผู้ที่ทำการผ่าตัด

6.การสรุปผลการตรวจวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
   6.1 ท่านมีสุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง ท่านสามารถนัดผ่าตัดการรักษาได้ทันที
   6.2 ท่านไม่สามารถรักษาภาวะสายตาผิดปกติได้ อาจเนื่องจากเหตุผลต่างๆจากสภาพของดวงตา สภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ฯลฯ
   6.3 ท่านอาจจะสามารถเข้ารับการรักษาภาวะสายผิดปกติได้ แต่ต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สภาพ ดวงตากลับสู่สภาพปกติ

7.อาการหลังการหยอดยาขยายม่านตาด้วยยา
   7.1 มองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ
   7.2 มองใกล้ลำบาก เมื่อใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์
   7.3 สู้แสงจ้าลำบาก อาจช่วยบรรเทาได้โดยการใส่แว่นกันแดด (ในกรณีที่ท่านนัดตรวจในตอนกลางวัน)

 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ