8 เทคนิคในการสร้างความฉลาดให้กับลูกน้อย

 Home
» Knowledge of Health » 8 เทคนิคในการสร้างความฉลาดให้กับลูกน้อย แบ่งปันไปยัง facebook



เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นเด็กฉลาด?

       พ่อแม่ทุกคนย่อมคาดหวังให้ลูกเป็นเด็กฉลาด แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ พ่อแม่ต้องทุ่มเท ทั้งแรงกายแรงใจอย่างมากมาย และมาสร้างความกดดันและก่อให้เกิดความเครียดแก่เด็กๆ  เรามาทำความเข้าใจ กระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า” กันก่อนดีกว่าค่ะ

       Executive Functions (EF) คือ ทักษะการคิดเชิงบริหาร เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้า เพื่อควบคุมความคิด การกระทำ การแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ในชีวิต โดยเฉพาะในงานที่มีความยากและใช้ระยะเวลานาน เช่นการเรียน ทักษะนี้ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง โดยเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ โดยในช่วง 0-6 ปี เป็นช่วงสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF เหล่านี้  ในช่วงวัย 0-6 ปีของเด็ก จะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ EF เพราะในช่วงนี้สมองจะมีสร้างเส้นใยของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงมีบทบาทสำคัญมากในการช่วงส่งเสริมทักษะ EF ในช่วงนี้

 8 เทคนิคในการสร้างความฉลาด และการฝึกทักษะ EF ให้กับลูกน้อย

  1. พ่อแม่ต้องมีอยู่จริงและสม่ำเสมอ โดยพยายามสร้างเวลาคุณภาพอยู่กับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ
  2. เลี้ยงลูกด้วยนิทาน ทุกครั้งที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง นั่นคือ การกระตุ้นการทำงานของสมองสร้างเส้นใยของเซลล์ประสาท
  3. ชวนลูกคุย หมั่นตั้งคำถาม ปลายเปิดกับลูกน้อย และไม่จำเป็นต้องให้ภาษาเด็กในการคุยกับลูก เพื่อเป็นการสร้างคลังคำศัพท์ที่ถูกต้อง
  4. การออกกำลังกาย และการเล่นใช้ทักษะกล้ามเนื้อ เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองที่สำคัญในเด็กปฐมวัย
  5. ให้ลูกได้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้เห็น ได้ฟัง ได้ชิมรส การเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัด ปล่อยให้ลองทำ ลองผิดลองถูก ฝึกการตัดสินใจ คิดวิเคราะห์และปรับตัวกับปัญหา
  6. โภชนาการ “อาหารสมอง” สารอาหารที่สำคัญและจำเป็นกับสมองโดยเฉพาะ Folate, Iron, Iodine, Zinc, Omega
  7. กำหนดกติกาชัดเจน อย่างใจเย็น “อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ในชีวิต” เราต้องตั้งกติกาเพื่อให้ลูกมีวินัย และฝึกการกำกับตนเองจากภายใน
  8. งดการดูสื่อจอก่อนอายุ 3 ขวบ เนื่องจากจะมีผลยับยั้งการพัฒนาสมองส่วนหน้า ส่งผลทำให้มีปัญหาด้านสมาธิและมีปัญหาพฤติกรรมตามมาได้

9 ผลเสียที่จะเกิดเมื่อลูกขาด ทักษะ EF มีดังนี้

  1. ความจำไม่ดี เรียนรู้ยาก ทำผิดเรื่องเดิมๆซ้ำซาๆ
  2. หุนหันผลันแล่น ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ ทำโดยไม่อดทนรอไม่ได้ และไม่นึกถึงคนอื่น
  3. รู้สึกเสียใจ หรือผิดหวังง่าย และมักจะหงุดหงิดมีอารมณ์เกรียวกราด แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ และใช้เวลานานกว่าจะกลับสู่อารมณ์ปกติ
  4. มีปัญหากับการทำกิจวัตรประจำวันบ่อยๆ เช่น ทำอะไรก็มักจะช้า ใช้เวลานอน ลืมว่าต้องทำอะไรบ้าง ลืมของสำคัญที่ใช้บ่อยๆ
  5. ขาดการวางแผน และการประเมินตนเอง คิดแก้ปัญหาหรือจัดการต่ออุปสรรคในการทำงานได้
  6. ไม่สามารถ ควบคุมให้มีสมาธิในห้องเรียนได้ ทำงานเสร็จช้าเพราะ ตัวเองไปสนใจอย่างอื่น หรือวอกแวกกับสื่งเร้าอื่นๆ
  7. มีปัญหาในการปรับตัวหรือใช้เวลาในการปรับตัว ต่อสถานการณ์ใหม่ๆ นานกว่า เด็กวัยเดียวกัน
  8. ไม่สามารถคิดนอกกรอบหรือเปลี่ยนวิธีคิด เมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง ยังยึดติดกับวิธีเดิมๆ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  9. มักจะมีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จัดการกับอารมณ์ของตนเองไม่ได้

       การฝึก EF ตั้งแต่เด็กมีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ทางทางวิชาการ เนื่องจากวงจรสมองกระบวนการคิดทักษะ EF มีตั้งแต่ขวบปีแรก จะทำให้รู้จักการควบคุมอารมณ์ มีวินัยในตนเอง สิ่งเหล่านี้จะถูกย้ำทำให้คงอยู่และแข็งแรงขึ้น แต่หากไม่ได้ฝึกฝนหรือใช้ประจำ ทักษะ EF เหล่านี้จะค่อย ๆ อ่อนแอลงและหายไป EF เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สำคัญที่สุดใช้ได้ทุกวัย ฉะนั้นการฝึกเด็กให้มี ทักษะ EF ตั้งแต่ก่อนปฐมวัย หรือช่วงอายุ  2 - 6 ขวบ เพื่อรักษาวงจรสมองกระบวนการคิดทักษะ EF ให้คงอยู่ไปชั่วชีวิตนั่นเอง...  ทักษะ EF  ช่วยให้ลูกเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ ติดถ้ำก็ได้ใช้นะคะ 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ