สุขภาพกับการทำงานใน “พื้นที่อับอากาศ”

 Home
» Knowledge of Health » สุขภาพกับการทำงานใน “พื้นที่อับอากาศ” แบ่งปันไปยัง facebook

สุขภาพกับการทำงานใน พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces) หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด ทางเข้าออกแคบ มีการระบายความร้อนและอากาศไม่เพียงพอ อาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ สารไวไฟ มีออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน  แก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกไปได้ อาจสูดดมเอาแก๊สพิษเข้าไปในร่างกาย รวมถึงอาจมีแก๊สที่ติดไฟได้ หากเกิดอันตรายเมื่อเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ยาก

 

ก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

ต้องตรวจสุขภาพตามข้อกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547  ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้ตรวจแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมงานประสิทธิภาพของการทำงาน และองค์กรด้วยโดยผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศจะต้องเข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพทุกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อรับใบอนุญาตเข้าปฏิบัติงาน

 

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

ข้อจำกัดในการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ ทั้งอากาศและความแคบของสถานที่ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานเมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน หากผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพดีจะช่วยลดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น ภาวะขาดออกซิเจน อุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ไฟไหม้เนื่องจากแก๊สระเบิด (Combustible Gas) อันตรายจากการสูดฝุ่นละออง ดมแก๊สพิษ อุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก  ประสิทธิภาพของการได้ยิน การมองเห็นในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอต่อการหนีออกจากพื้นที่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินได้ทัน

 

การตรวจสุขภาพสำหรับปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

เริ่มจากการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้นทั่วไป ตรวจคัดกรองโรคที่ควบคุมไม่ได้ หรืออาจกำเริบระหว่างปฏิบัติงาน โดยมากการตรวจร่างกาย มีดังนี้

  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด
  • ตรวจสมรรถภาพปอด
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจสมรรถภาพการมองเห็น
  • ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ