โรคปอดบวม คืออะไร?

 Home
» Knowledge of Health » โรคปอดบวม คืออะไร? แบ่งปันไปยัง facebook

โรคปอดบวม คืออะไร?

เป็นโรคที่มีการอักเสบของปอด ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้ถุงลมปอดเต็มไปด้วยหนองหรือสารคัดหลั่ง ส่งผลให้การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนลดลง นั่นเอง


สาเหตุ

  • เชื้อไวรัส เช่น RSV, ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  • เชื้อแบคทีเรีย เช่น S.pneumoniae, Haemophilus influenza (Hip), Mycoplasma, E.coli เป็นต้น
  • เชื้อรา เช่น Chlamydia เป็นต้น
  • สารเคมี

อาการ

  • ช่วงแรกอาจไอแห้งๆ ต่อมาจะไอมีเสมหะและมักมีเสียงเสมหะในปอด
  • มีไข้สูง ตัวร้อน
  • หายใจหอบ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • อาจมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณที่ปอดมีการอักเสบได้

 

การตรวจวินิจฉัย

  • แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ฟังเสียงหายใจ เพื่อประเมินว่ามีเสียงเสมหะหรือสารคัดหลั่งในปอดหรือไม่
  • เอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่ามีหนองหรือสิ่งคัดหลั่งอยู่ในถุงลมปอดหรือไม่
  • ตรวจเลือดดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจะพบว่า มีเม็ดเลือดขาวขึ้นสูง ซึ่งจะบ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อในร่างกาย
  • ตรวจเพาะเชื้อในเลือด เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และถ้ามีเป็นเชื้อตัวใด เพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
  • ตรวจเสมหะเพื่อย้อมสีหรือเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปอดอักเสบตามความเหมาะสมโดยแพทย์

 

การรักษา

  • ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้แก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอละลายเสมหะหรือยาพ่นเพื่อทำให้ปอดขยายตัวและทำงานดีขึ้น เป็นต้น
  • ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่พบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ตามความเหมาะสมของชนิดเชื้อนั้น
  • ให้ยาต้านเชื้อไวรัสในรายที่เป็นปอดบวมจากเชื้อไข้หวัดใหญ่
  • ให้นอนพักมากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ในรายที่ไข้สูงและอ่อนเพลียมากอาจได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำและนอนรักษาตัวในรพ.

 

การป้องกัน

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ (Hib), วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไอพีดีและวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รักษาความสะอาดร่างกาย
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 8-10แก้ว
  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรืออากาศไม่ถ่ายเท หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ