ก่อนวิ่งมาราธอน ควรตรวจอะไรบ้าง

 Home
» Knowledge of Health » ก่อนวิ่งมาราธอน ควรตรวจอะไรบ้าง แบ่งปันไปยัง facebook

 ฟิตหัวใจให้พร้อม...ในทุกมาราธอน เลี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

“คุณหมอค่ะ ขอปรึกษาหน่อย พี่ชายดิฉันเพิ่งเสียชีวิตจากโรคหัวใจวาย ทั้งๆที่ออกกำลังกายตลอด ไม่อ้วน แต่ทำไมถึงยังเกิดภาวะหัวใจวายได้อีกละคะ?”

เป็นคำถามที่คนไข้ถามผมระหว่างที่มาตรวจสุขภาพประจำปี เป็นช่วงเดียวกับที่ผมกำลังจะแนะนำให้คนไข้ออกกำลังกายเนื่องจากพบว่ามีภาวะไขมันสูงในเลือด


“ถ้าดิฉันออกกำลังกาย จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจไหมคะ?”

    เป็นคำถามที่น่าคิดน่ะครับ จริงๆแล้วโรคหัวใจก็ไม่น่าจะเกิดกับคนที่ออกกำลังกายหรอก ครวจะเป็นตรงกันข้ามด้วยซ้ำ แต่ การทำอะไรที่มาเกินไป แม้แต่การออกกำลังกายเอง ก็อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เคยได้ยินใช่ไหมครับ ในงานกีฬาต่างๆ เช่นงานวิ่ง อาจจะมีเหตุการณ์ที่ผู้ร่วมงานเกิดภาวะหมดสติ หัวใจวายเฉียบพลัน จนถึงขั้นเสียชีวิต

อ้าว แล้วทำไมออกกำลังกายเยอะๆถึงไม่ดีละ?

    แปลกน่ะครับ สื่อต่างๆ หรือ บทความต่างๆ ก็ต่างสนับสนุนให้ทุกคนออกกำลังกาย ก็จริงครับ เพราะการออกกำลังกายนั้น ไม่เพียงแต่ลดภาวะไขมันในเลือด แต่ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของ การลดความดันโลหิต ลดน้ำหนัก จนถึงลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน แต่ทั้งหมดนี้เกิดจากการออกกำลังกายแบบพอเหมาะ (Moderate Intensity) ไม่ใช่หนักเกินแบบหักโหม (Vigorous Intensity)

    โดยส่วนใหญ่ คนที่หัวใจวายเฉียบพลัน มักจะเป็นคนที่มีภาวะโรคหัวใจอยู่แล้ว เช่น ภาวะหัวใจโต หลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ไม่รู้ตัว มีการศึกษาบางรายงานออกมาว่า การอออกกำลังกายแบบพอเหมาะนั้นมีผลดีกับร่างกายมากขึ้น แต่การที่เราออกกำล

    การออกกำลังกายหนักๆ ทำให้หัวใจเราต้องการเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ร่างกายต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เร็วขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบต่างๆในร่างกาย เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือน หัวหน้าที่เข้ามาหาเรา 20 นาทีก่อนเลิกงาน แล้วโยนงานมาให้เราทำอีก 10 อย่าง แล้วพูดสั้นๆว่า “พี่ขอวันนี้นะ” ถ้าเราเป็นคนยิ้มสู้กับทุกเหตุการณ์ ก็อาจจะทำมันผ่านไป แต่ก็คงสะบักสะบอบเล็กน้อย แต่ถ้าเราเป็นคนทั่วๆไป ที่อาจจะโดนกระทำแบบนี้มาซ้ำแล้วซ้ำเล่า วันนี้อาจจะเป็นวันที่เราตะโกนออกไปว่า “พอแล้วโว้ยย” แล้วก็ลาออกในที่สุด หัวใจก็เหมือนกัน ถ้ามันไม่ไหว ก็อาจจะวายไปเลย การออกกำลังกาย ไม่ใช่สาเหตุที่เป็นโรคหัวใจ แต่เป็นเพียงตัวกระตุ้นที่ทำให้หัวใจดวงน้อยๆ ที่บอบช้ำอยู่แล้ว วายได้ง่ายขึ้นทำนั้นเอง

   ความน่ากลัวของโรคนี้คือ คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว และอาจจะไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองมีปัญหาที่หัวใจ เนื่องจากว่าออกกำลังกายอยู่แล้ว และ โรคพวกนี้มักไม่มีอาการ มารู้ตัวอีกที ก็ วายไปซะละ แต่ก็ยังมีประมาณ 30% น่ะครับ ที่อาจจะมีอาการนำมาก่อน เช่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ใจสั่น มีอาการวูบ หรือ หมดสติ ดังนั้นการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะการตรวจหัวใจในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจธรรมดาและขณะเดินสายพาน การตรวจอัลตร้าซาวหัวใจเพื่อดูภาวะผนังหัวใจโต ถือว่ายังจำเป็นอยู่น่ะครับ เนื่องจากมันสามารถพบภาวะผิดปกติเหล่านี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

พออ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะมีคำถามอยู่ว่า แล้ว ออกกำลังกายแบบไหนถึงไม่เรียกว่าหนักเกินไป?

   อันนี้ก็แล้วแต่อายุ กับ ภาวะหัวใจของแต่ละคนด้วยน่ะครับ ส่วนใหญ่เราจะเปรียบเทียบจากการเต้นของหัวใจ (เตือนก่อนว่าต่อไปนี้ตัวเลขอาจจะเยอะ ปวดหัวได้นะ)

วิธีคิดว่าหัวใจเราต้องเต้นเท่าไหร่ มันก็มีสูตรอยู่ว่า
     1. 220- อายุ = อัดตราการเต้นหัวใจสูงสุดของร่างกาย (MHR)
     2.  จับชีพจรตัวเองว่า ขณะพักหัวใจเราเต้นกี่ครั้งต่อนาที (RHR)
     3. MHR– RHR = อัตราของการเต้นหัวใจสำรอง (HRR)

การออกกำลังกายแบบพอเหมาะคือหัวใจจะเต้น 50 – 70% ของอัดตราหัวใจสูงสุด
     4. (HRR x 50%) +RHR= อัตตราการเต้นของหัวใจอย่างน้อยที่สุดเวลาออกกำลังกาย
     5. (HRR x 70%) +RHR= อัตตราการเต้นของหัวใจอย่างมากที่สุดเวลาออกกำลังกาย

ยกตัวอย่างเช่น คุณสมชาย อายุ 50 ปี หัวใจเต้นขณะพักอยู่ที่ 80 ครั้งต่อนาที
     1. 220– 50 = 170
     2.  หัวใจเต้น80ครั้งต่อนาที
     3. 170– 80 = 90
     4. (90 x 50%) +80= 125 ครั้ง ต่อนาที
     5. (90 x 70%) +80= 143 ครั้งต่อนาที

เพราะฉะนั้น คุณสมชายเวลาออกกำลังกาย ควรที่จะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 125 – 143 ครั้ง เป็นต้นครับ

ถ้าเราออกกำลังกายได้ภายในโซนที่กำหนด ก็จะเป็นผลดีต่อหัวใจเรามากที่สุดครับ แต่ทางที่ดีที่สุดก็ควรจะตรวจสมรรถภาพหัวใจไว้ด้วยน่ะครับ   #รู้อะไรก็ไม่เท่ารู้ใจตัวเอง

โปรแกรม เลือก

สนใจแพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจ คลิก 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ