"รังสีวินิจฉัย" ข้างหลังภาพ "นักร่างแผนที่สู้ศึก"

 Home
» Knowledge of Health » "รังสีวินิจฉัย" ข้างหลังภาพ "นักร่างแผนที่สู้ศึก" แบ่งปันไปยัง facebook

ข้างหลังภาพ ช่วงนี้สหายร่วมรบ "นักร่างแผนที่สู้ศึก" หมอรังสีของเราถูกปรักปรำว่าคิดคดทรยศเหล่านักสู้ทำให้เกิดมะเร็งเสียเอง

วันนี้จึงอยากมาขอเล่าให้ฟัง เรื่องสหายร่วมรบ "นักร่างแผนที่สู้ศึก"ท่านนี้ของเรา นักสู้หลายท่านน่าจะร้องอ๋อแล้วว่าวันนี้ เราจะเล่ากันเรื่องอะไร ถ้าเรียกด้วยคำสวยๆ ก็คือเรื่องของ “รังสีวินิจฉัย” หรือเรียกภาษาง่ายๆ ว่าไป เอกซเรย์ นั่นแหละ

นักสู้ของเราหลายคนก็จะงุนงงสับสนว่าเข้าเครื่องใหญ่ เครื่องเล็ก กินน้ำไม่กินน้ำ ฉีดยาไม่ฉีดยา CT scan MRI อะไรเยอะแยะไปหมดในการรักษามะเร็งนั้นจะต้อง เห็นให้ชัด รู้ให้แน่ จึงจะพิจารณาแนวทางการรักษาได้ชัดเจน ซึ่งหากอะไรที่อยู่ข้างในร่างกาย เราจึงต้องหวังพึ่งคุณหมอรังสีและนักรังสีช่วยให้เราสามารถเห็นทะลุทะลวงลงไปถึงเนื้อร้ายเหมือนแผนที่ล้วงลับกลศึก

หลักการของการตรวจด้วยรังสีวินิจฉัยนั้น ก็เหมือนการถ่ายภาพ ปกติเวลาเราถ่ายภาพลงโซเชียลกันก็จะต้องถ่ายบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อให้ ได้ภาพที่สวยคมชัดแต่ทีนี้ถ้าเราอยากเห็นสิ่งที่อยู่ข้างในเราก็จะต้องใช้รังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงมากกว่าแสงที่เราเห็นด้วยตาเปล่า


เครื่องมือที่จะใช้ให้เราเห็นได้ชัดเจนขึ้น ได้แก่

1. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งมากกว่าคลื่นความถี่ที่คนเราได้ยินได้ เข้าไปที่อวัยวะภายในร่างกาย และสะท้อนออกมาที่ตัวรับให้เห็นภาพอวัยวะภายในได้ แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถถูกบดบังโดยลมในลำไส้ได้ หรือหากคนไข้อ้วนมากก็จะทำให้เห็นไม่ชัดเจน

2. รังสี X (X-ray หรือ Röntgen ray) ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่ ปี พ.ศ.2438 โดยจะฉายผ่านร่างกายออกมา เห็นเป็นภาพเงาสองมิติและมีการดัดแปลง เพื่อให้ใช้ได้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่นการทำแมมโมแกรม (Mammogram) ที่จะใช้เอกซเรย์เฉพาะส่วนแค่ที่เต้านมเท่านั้น หรือมีการถ่ายภาพเป็นชุดๆต่อกัน เพื่อให้เห็นภาพการทำงานของระบบทางเดินอาหาร (Fluoroscopy) ที่รู้จักกันในนาม กลืนแป้ง หรือสวนแป้ง นั่นเองต่อมา มีการพัฒนา โดยให้มีการถ่ายภาพจากหลายๆมุมรอบตัวเรา แล้วนำภาพมารวมกัน เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CAT/CT scan (computed axial tomography) ให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นเป็น 3 มิติ ซึ่งใช้มากที่สุดในการติดตามผลการรักษามะเร็ง ใช้เวลาไม่นาน แต่มีข้อเสียคือ ต้องสัมผัสกับรังสีจำนวนมาก

3. การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI (Magnetic resonance imaging) โดยใช้สนามแม่เหล็ก ส่งคลื่นเข้าไปในร่างกาย ให้สะท้อนออกมาที่เครื่อง แล้วแปลผลออกมาเป็นภาพโดยอาจมีการฉีดสารเข้าไปในเส้นเลือดเพื่อให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นมีข้อดีคือภาพเห็นชัดเจน และไม่ต้องสัมผัสรังสีแต่ข้อเสียคือมีเสียงดังรบกวนใช้เวลาทำนานและในบางรายที่มีเหล็กอยู่ในร่างกายไม่สามารถทำได้

4. การตรวจด้วยนิวเคลียร์ ใช่แล้ว ฟังไม่ผิดแน่นอน หลักการเดียวกับระเบิดนิวเคลียร์โดยจะใช้สารที่เรียกว่าสารเภสัชรังสีที่จะสร้างมาจากการปรับปรุงธาตุเดิม โดยออกแบบว่าจะให้ไปจับที่ใดของร่างกายแล้วใช้กล้องพิเศษถ่ายภาพที่รู้จักกันดี ได้แก่ การตรวจไทรอยด์ (Thyroid scan) หรือตรวจการลุกลามของมะเร็งไปที่กระดูก (Bone scan)

5. PET/CT scan เป็นการใช้การถ่ายภาพจากเครื่องมือทางนิวเคลียร์ คือ (Positron Emission Tomography) และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) ซึ่งเป็นเครื่องยอดฮิตในการตรวจติดตามมะเร็งในหลายๆสถาบัน ย้ำว่า”ติดตาม” ไม่ใช่ “คัดกรอง” เพราะ ใช้การถ่ายภาพด้วย เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ให้เห็นรายละเอียดภายใน ร่วมกับการใช้ PET scan เพื่อตรวจการใช้น้ำตาล เพราะมะเร็งส่วนใหญ่ โตไวกว่าร่างกายปกติ จึงใช้ปริมาณน้ำตาลเป็นพลังงานมากกว่าส่วนอื่นในร่างกาย เห็นเรืองแสงขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม มันคือเครื่องวัดการใช้น้ำตาล ไม่ใช่เครื่องตรวจจับมะเร็ง จึงอาจเห็นภาพเรืองแสงได้จากสาเหตุอื่นด้วย เช่น การอักเสบ การบาดเจ็บ การติดเชื้อ เป็นต้น

การจะใช้เครื่องมือใดในการวินิจฉัย ติดตาม การรักษานั้น ขึ้นกับดุลพินิจของผู้เชี่ยวชาญ คือ “รังสีแพทย์” และ “แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์” ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ ใช้เวลาหลายปี ในการ “เรียนหนังสือ” เพื่อให้จบเป็นผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งตลอดชีวิตการทำงาน ยังต้อง “เรียนรู้” และสั่งสม “ประสบการณ์” เพื่อให้ตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุด

อีกทั้งภาพที่ถ่ายออกมานั้นไม่ใช่ภาพสวยงามเหมือนที่ถ่ายลงโซเชียลแต่เราอยู่กับภาพของเงาที่จะต้องใช้ความสามารถอย่างสูงในการอ่านเงามัวๆ ให้ออกมาเป็นรายละเอียดให้กับกุนซือหมอมะเร็งอย่างเรา อย่างถูกต้องแม่นยำ

 

ติดต่อเพื่อพูดคุยกับเราเกี่ยวกับการรักษา

หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่าง
โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7
Tel. 02 033 2900 ต่อ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
website : https://www.chgcancercenter.com
FanPage : fb.com/CHGCancerCenter
Line : @CHGCancerCenter Link : https://lin.ee/b0RJt7d

 

 

ปรึกษาออนไลน์

 นัดหมายรับบริการ

สนใจแพคเกจ 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ