เส้นเลือดขอดคืออะไรและสามารถรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง (Varicose vein)

 Home
» Knowledge of Health » เส้นเลือดขอดคืออะไรและสามารถรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง (Varicose vein) แบ่งปันไปยัง facebook

เส้นเลือดขอดคืออะไรและสามารถรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง (Varicose vein) 

เส้นเลือดขอดคือ? (Definition)

 เส้นเลือดขอด คือ เส้นเลือดดำที่บวม โป่งพอง และบิดขด อยู่บริเวณชั้นใต้ผิวหนังชั้นตื้น (Superficial veins) พบบ่อยบริเวณขาและเท้า เนื่องจากแรงดันในเส้นเลือดที่สูงขึ้นจากการเดินหรือยืนนานๆ


สัญญาณเตือนและอาการของเส้นเลือดขอด (signs and symptoms)

- Telangiectasis หลอดเลือดดำขยายตัวคล้ายตาข่ายแมงมุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มม. โดยที่ไม่มีอาการปวด เห็นเส้นเลือดเป็นสีน้ำเงินหรือม่วงเข้ม

- Aching มีอาการปวดเหมือนรู้สึกขาหนักๆ โดยเฉพาะตอนเย็น อาจมีอาการปวดตุ้บๆ (Throbbing) หรือ burning pain, กล้ามเนื้อเป็นตะคริว (Muscle cramp) และบวมที่ขาทั้ง 2 ข้าง

- Dermatitis คันบริเวณเส้นเลือดขอด หรือรอบๆ

- มีแผลที่ผิวหนัง, แผลเรื้อรัง, หรือเคยหายแล้วและกลับมาเป็นใหม่

- มีเลือดออกหรือรอยช้ำหลังจากมีการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดขอด

- Thrombophlebitis เกิดการอักเสบของเส้นเลือดขอด ทำให้มีการปวด บวมแดง ร้อนตามแนวของเส้นเลือดขอด

- เส้นเลือดแข็งหรือเปลี่ยนสี


สาเหตุของเส้นเลือดขอด (Causes)

- เกิดจากการเสื่อมประสิทธิภาพของลิ้น (Valve) เล็ก ๆ ในเส้นเลือดดำที่ขาซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการ ไหลเวียนของเลือดดำ โดยการปิดกั้นไม่ให้เลือดมาคั่งที่ขา ดังนั้นถ้าหากลิ้นมีการเสื่อม ก็จะทำให้เกิดการคั่งที่ขา อย่างเรื้อรัง ทำให้แรงดันเส้นดำนั้นๆสูงขึ้น ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดตามมา

- ซึ่งการเสื่อมอาจจะเกิดจากการที่ลิ้นเสื่อมหรือเกิดจากการที่ลิ้นปิดไม่สนิทหรือเกิด ทั้ง 2 สาเหตุร่วมกันก็ได้

- โดยสาเหตุที่ทำให้ลิ้นเสื่อม เกิดจากการเสื่อมตามอายุ หรือตามพันธุกรรม

- ส่วนสาเหตุที่ทำให้ลิ้นไม่สามารถปิดกั้นได้สนิท จะมาจากการเพิ่มความดันเรื้อรังในเส้นเลือดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การยืนเป็นเวลานาน หรือมีการอุดกั้นทางเดินของเลือดดำ เช่น การกดทับเส้นเลือดจากก้อนเนื้อหรือ ก้อนมะเร็งในอุ้งเชิงกราน หรือมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น จากการตั้งครรภ์ โรคอ้วน หรือจากท้องผูกเรื้อรัง


ใครมีความเสี่ยงเส้นเลือดขอด (Risk factors)

- AGE ยิ่งอายุมากขึ้น ไอกาสเกิดโรคยิ่งสูงขึ้นจากการเสื่อมประสิทธิภาพของลิ้นในหลอดเลือดคำ ซึ่งพบโรคนี้มากกว่า 70% ของคนที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป

- SEX เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่าเพศชาย 3 เท่าเนื่องจากการตั้งครรภ์ที่ส่งผลถึงการเพิ่มความดันใน ช่องท้อง และจากการมีภาวะหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนเพศจะมีส่วนช่วยในการคงความยืดหยุ่น ของผนังเส้นเลือด

- Genetic and Nationality เพราะพบโรคนี้ได้สูงขึ้นประมาณ 2 เท่าในคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็น โรคนี้ และพบได้สูงในคนตะวันตกสูงกว่าคนเอเชีย ทั้งนี้อาจมีความสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทาน (เส้นเลือดขอด พบได้ประมาณ 12% ของคนตะวันตก ส่วนอุบัติการณ์ที่พบในคนเอเชียจะต่ำกว่า)

- Weight เพราะโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกินจะเพิ่มความ ดันในช่องท้องให้สูงขึ้น

- Occupation อาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ หรือต้องยกของหนัก ๆ ทำให้เส้นเลือดมีเลือดดั่งมาก เช่น ทหาร ศัลยแพทย์ พยาบาลในห้องผ่าตัด ครู เป็นต้น

- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยทอง หรือแม้กระทั่งการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก็อาจส่งผลทำให้เกิดเส้นเลือดขอดมากขึ้นได้

- Pregnancy

- ท้องผูกเรื้อรัง

- ขาดการออกกำลังกาย ขาดการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือใช้ชีวิตที่สะดวกสบายจนเกินไป

- สาเหตุอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะบริเวณสะโพก ผู้ป่วยที่มีประวัติขาบวมหรือมีเส้นเลือดดำที่ขาอุดตันมาก่อนในอดีตก็จะมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดขอดได้มากกว่าคน ทั่วไปด้วย


การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis)

วินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย (โดยเฉพาะการตรวจเห็นเส้นเลือดขอดที่ขา โดยตรวจดูเส้นเลือดขอดทั้ง ท่ายืนและท่านอน)

ㆍตรวจดูว่ามีการไหลย้อนกลับของเส้นเลือดดำหรือไม่ (Venous filling time )

ㆍตรวจดูว่ามีการอุดตันของเส้นเลือดดำหรือไม่ (Maximum venous outflow)

ㆍ ตรวจภาพเส้นเลือดและการไหลเวียนเลือดด้วย อัลตราซาวนด์ (Doppler ultrasound)

ㆍ ตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance venography - MRV) โดยเฉพาะในราย ที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของเส้นเลือดดำส่วนลึก

ㆍการฉีดสีเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดแล้วเอกซเรย์ดูลักษณะของเส้นเลือด(Venograph)

ㆍ การตรวจเลือด CBC เพื่อดูการทำงานของเกล็ดเลือด

 
ภาวะแทรกซ้อน (Complications)

 โดยทั่วไปโรคนี้มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและไม่ทำให้เสียชีวิต แต่จะส่งผลถึงความสวยงาม จึงมีผลต่อคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในผู้หญิง

ㆍ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยขารู้สึกขาล้าหรือหนักๆที่ขา ขาบวม เป็นตะคริว เหน็บชา มีขากระตุก (โดยเฉพาะเมื่อไม่มีการใช้ขาเป็นเวลานาน เช่น เวลานอน) มีอาการคันขาหรือเท้าโดยเฉพาะตรงข้อเท้า (เพราะผิวหนัง ได้รับการระคายเคืองจากการมีเลือดคั่ง)

ㆍ อาจทำให้เกิดแผลบริเวณขาและเท้าได้ง่าย ซึ่งแผลที่เกิดจะหายได้ช้า เนื่องจากการไหลเวียนของเลือด ไม่ดีและถ้าแผลมีเลือดออกเลือดก็มักจะออกมากและหยุดไหลช้าเนื่องจากการมีความดันในเส้นเลือดดำที่สูงกว่าปกติหากหกล้มหรือถูกของมีคมบาดตรงบริเวณที่มีเส้นเลือดขอดอาจทำให้เกิดแผลเลือดออกรุนแรงได้

ㆍเมื่อมีเส้นเลือดขอดเรื้อรัง สีของเท้าจะคล้ำแดงขึ้นหรือออกดำคล้ำจากการคั่งของเลือด ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนังและของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณข้อเท้าอาจแข็ง จากการแข็งตัวของ ไขมันใต้ผิวหนัง

ㆍในรายที่เป็นรุนแรง ผิวหนังในบริเวณนั้นอาจแตกและกลายเป็นแผลเรื้อรัง เรียกว่า "แผลจากเส้นเลือดขอด" (Varicose ulcer)

ㆍ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการอักเสบของเส้นเลือดดำ (Thrombophlebitis) ซึ่งมักจะเป็นที่บริเวณผิว เรียกว่า"ภาวะเส้นเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด" (Deep vein thrombosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องรีบรักษา โดยมีอาการสำคัญคือขาบวมทันทีร่วมกับปวดขา

 

การรักษาเส้นเลือดขอด (Treatment)

- การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative treatment)

- การรักษาแบบเฉพาะ (Specific treatment)

    การรักษาแบบประคับประคอง(Conservative treatment) จะเน้นหนักไปทางการป้องกัน และรักษาตามอาการมากกว่า จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็กมาก หรือเป็นเส้นเลือดฝอยที่ขาขนาดเล็กๆ Spider veins

- ใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด (Compression stocking)

- นอนยกปลายเท้าสูง เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและช่วยให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น

- การออกกำลังกาย ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวบริเวณน่อง

- การลดน้ำหนัก ในรายที่น้ำหนักเกินมากจนเกินไป

- หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ หรือนั่งห้อยเท้านานๆ

- หลีกเลี่ยงการนั่งไขว้ห้าง

- หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ

        การรักษาแบบเฉพาะ (Specific treatment) การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อให้เส้นเลือดตีบตัน (Sclerotherapy) สามารถรักษาได้ทั้ง varicose vein และ spider vein

- สำหรับสารที่นิยมใช้มีหลายชนิด เช่น Aethoxysklerol , NaCl , Foam ซึ่งในรพ.จุฬารัตน์ 3 จะใช้เป็น Cyanoacrylate Glue

- ภายหลังการฉีดสาร ผู้ป่วยควรเดินต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีทันทีหลังการฉีดยา เพื่อช่วยให้ยากระจายตัวได้ดีขึ้น และควรสวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดเพื่อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของยาฉีดให้ได้ผลดี โดยควรสวม ติดต่อกันอย่างน้อย 5-7 วัน (ยกเว้นในกรณีที่ อาบน้ำให้ถอดออกได้) วิธีนี้เป็นการรักษาที่ไม่หายขาด ในระยะยาว อาจมีการกลับมาเป็นซ้ำของเส้นเลือดขอดได้อีก

 

ข้อดี

ㆍไม่ต้องนอนรพ. ทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้

ㆍไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับความรู้สึก

ข้อบ่งชี้ในการรักษา

- เป็นเส้นเลือดขอดที่มีขนาดอยู่ ระหว่าง 1-3 มิลลิเมตร

- เป็นเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กมากๆ ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร

- เป็นเส้นเลือดขอดเดี่ยว ๆ

- เป็นเส้นเลือดขอดบริเวณใต้เข่า

 

ข้อห้ามในการรักษา

- การมีประวัติการแพ้สารที่ใช้ฉีด

- มีเส้นเลือดอักเสบ

- เส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ร่วมกับปัญหาเส้นเลือดดำส่วนลึก

 

ภาวะแทรกซ้อน

- อาการปวดขณะที่ฉีดยา บางรายอาจมีอาการปวดแสบร้อน

- มีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดยา

- มีเลือดออก หรือมีรอยจ้ำเขียวจากการมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ซึ่งจะหายไปได้เอง

- อาจเกิดรอยคล้ำตามแนวเส้นเลือดที่ฉีด ซึ่งจะค่อยๆจางหายไปได้เอง

- อาจเกิดอาการแพ้ยาที่ฉีด

- ในกรณีที่ฉีดยาไม่เข้าเส้นเลือดอาจเป็นเหตุทำให้ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นหรืออาจเกิดแผลบริเวณผิวหนังได้

- อาจเกิดเส้นเลือดอักเสบได้

 

การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยการผ่าตัด

- Ambulatory Phlebectomy

- Varicose vein stripping เป็นการผ่าตัดดึงเอาเส้นเลือดที่ขอดออกไป ตลอดทั้งเส้นเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก วิธีนี้จะเหมาะสำหรับการรักษาเส้นเลือดขอดที่มีขนาด ใหญ่และมีขนาดยาวมากๆ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดได้

ㆍการรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อเตรียมการผ่าตัดโดยวิสัญญีแพทย์จะใช้วิธีระงับอาการปวดในขณะทำการผ่าตัดโดยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังหรือให้ดมยาสลบ

ㆍหลังการผ่าตัดในช่วง 3-4 วันแรกควรนอนพักให้มาก ยกเท้าให้สูง และใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์

 

ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด

ㆍ เส้นเลือดขอดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 มิลลิเมตร

ㆍ ผู้ป่วยมีอาการปวดขาและมีลิ้นในเส้นเลือดดำผิดปกติ

ㆍ มีเส้นเลือดขอด ที่เกิดปัญหาแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออก มีแผลเรื้อรัง หรือมีการอักเสบของเส้นเลือดขอด

 

ผลข้างเคียง

ㆍผลข้างเคียงจากการดมยาสลบ

ㆍเลือดออกจากการผ่าตัด

ㆍระหว่างการผ่าตัดอาจจะมีการทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเสียหาย (เช่น เส้นเลือดแดง เส้นประสาท)

ㆍแผลผ่าตัดเกิดการอักเสบติดเชื้อ

ㆍมีจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง

ㆍการเกิดลิ่มเลือดใน เส้นเลือดดำซึ่งพบได้ไม่บ่อย

ㆍการเกิดแผลเป็นให้เห็นได้หลังการผ่าตัด

 

การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์

- ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการรักษาที่ ไม่ทำให้เกิดบาดแผลและไม่มีแผลเป็น สามารถรักษาเส้นเลือดขอดได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร และผู้ป่วยที่กลัวการฉีดยาหรือ การผ่าตัดㆍในขณะที่ทำผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (เหมือนมียางมาดีดที่ผิวหนัง) จึงไม่ต้องใช้ ยาชาเฉพาะที่ แต่ถ้าทนไม่ได้ก็อาจทายาก่อนการรักษาประมาณ 1 ชั่วโมง

ㆍ ทันทีหลังการรักษาผิวหนังบริเวณที่ทำ จะมีอาการบวมแดงเล็กน้อย ซึ่งมักจะหายไป ได้เองภายใน 24 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 2-3 วัน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดรอยช้ำหรือผิวหนังไหม้พองได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีผิวคล้ำ

 

การรักษาด้วยเลเซอร์แบบพิเศษที่มีช่วงคลื่นต่ำ (Low level laser therapy)

ㆍเป็นวิธีที่ช่วยบำบัด อาการเส้นเลือดขอดโดยการลดอาการบวมน้ำจากการคั่งของเส้นเลือดดำ

ㆍข้อดีของการบำบัดด้วยวิธีนี้คือ ไม่ต้องฉีดยาชา ไม่ทำให้เกิดแผล ทำเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างปกติ สามารถรักษาได้ ทั้งเส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอย แต่หลังทำเสร็จจะต้องใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด ร่วมด้วยเหมือนการรักษาอื่นๆ

 

ยารับประทานบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด

- การรับประทานยาในกลุ่ม ไดออสมิน (Diosmin) และเฮสเพอริดิน (Hesperidin) จะทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการอักเสบให้ลดลง และทำให้ลิ้นในเส้นเลือดกลับมาเป็นปกติได้ โดยเฉพาะในเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กๆ ดังนั้น ถ้า รักษาตั้งแต่ระยะแรกยานี้ก็อาจช่วยรักษาให้หายได้

 

คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเส้นเลือดขอด

หลีกเลี้ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ

- ไม่นั่งไขว่ห้างหรือนั่งห้อยเท้าเป็นเวลานาน ๆ

- พยายามนั่งหรือนอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอกเพื่อช่วยให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น

- ให้บริหารข้อเท้าตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน และเหยียดเท้า และกระดกเท้าสลับกันไป

- ใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด (Compression stocking) หรือใช้ผ้าพันแผลชนิดยืด (Elastic bandage) พันรอบขาจากปลายเท้าขึ้นมาถึงใต้เข่าในระหว่างที่ต้องยืนทำงานเป็น เวลานาน ๆ ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง เลือกใส่รองเท้าส้นเตี้ยซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีกว่า รองเท้าส้นสูง

- ลดน้ำหนักอย่างเหมาะสมและถูกวิธี

- ควบคุมอาการท้องผูกให้ดี โดยการรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

- เคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อขา

- สำหรับในรายที่เป็นเส้นเลือดขอดในระยะแรก สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดหรือรัดเท้าด้วยผ้ายืดในขณะที่ยืนทำงานหรือในระหว่างที่มีการตั้งครรภ์

- หมั่นสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อที่จะได้ไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที เช่น แผลเรื้อรังที่บริเวณขา การอักเสบของเส้นเลือดขอด การมีเลือดออก ขาบวม ปวดขา เป็นต้น

- ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการเส้นเลือดขอดโป้งพองมาก ผิวหนังแดง ร้อน และเจ็บ (แสดงว่า มีการอักเสบ), มีเลือดออกจากเส้นเลือดขอด, เกิดแผลและผื่นใกล้กับข้อเท้า, ผิวหนังบริเวณ ข้อเท้า หน้าแข้ง และน่องหนา และมีสีคล้ำ, อาการเส้นเลือดขอดรบกวนคุณภาพชีวิต, มีอาการปวดน่องมาก, ภาพที่ปรากฎดูน่าเกลียด หรือเมื่อมีความกังวลในอาการ

- ถ้ามีเลือดไหลจากเส้นเลือดขอด ให้นั่งหรือนอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอก และใช้ผ้า สะอาดกดแรงๆ ตรงรอยแผลที่มีเลือดออก เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วให้ทำความสะอาดแผล แบบบาดแผลสดทั่ว ๆ ไป

 

 การป้องกัน (Prevention) 

- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน 1 ให้เปลี่ยนเท้าที่ยืนบ่อย ๆ (หากต้องนั่งนานให้ลุกขึ้นเดินทุก ๆ 30 นาที หรือยกเท้าให้สูงทุกครั้งที่มีโอกาส)

- หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน

- ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดี และลดการเกิดเส้นเลือดขอดได้

- ควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน

- ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น โดยฉพาะกางเกงที่ฟิตและรัดบริเวณขาหนีบและเอว

- ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน

- หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดและสวมเครื่องป้องกันแสงแดด โดขเฉพาะบริเวณใบหน้าที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยได้

- ลดการรับประทานอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม และรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

 

การรักษาเส้นเลือดขอดโดยใช้สารยึดติดทางการแพทย์ (Cyanoacrylate Glue)

เป็นการรักษาโดยการใช้สารยึดติดทางการแพทย์เพื่อปีดหลอดเลือดดำที่มีปัญหา

ㆍก่อนการรักษาแพทย์จะทำการ Ultrasound หลอดเลือดเพื่อระบุตำแหน่งเส้นเลือดที่มีความผิดปกติ

ㆍโดยหลังการรักษาอาการเส้นเลือดขอดจะดีขึ้น

ㆍผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ㆍเส้นเลือดขอดจะหายไปภายใน 1 เดือน

 

 

ปรึกษาออนไลน์

 นัดหมายรับบริการ

สนใจแพคเกจ 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ