สังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » สังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ แบ่งปันไปยัง facebook

สังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่

อาการแสดงเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กจนถึงก่อนอายุ 12 ปี อาการดังกล่าวได้แก่ 

  1. อาการขาดสมาธิ (attention deficit) โดยสังเกตพบว่าเด็กจะมีลักษณะดังนี้
  • ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
  • ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
  • ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
  • ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
  • ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
  • วอกแวกง่าย
  • ขี้ลืมบ่อย ๆ
  • มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
  • ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียนหายอยู่บ่อย ๆ

 

  1. อาการซน (hyperactivity) และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะดังนี้
  • ยุกยิก อยู่ไม่สุข
  • นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อย ๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
  • ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ
  • พูดมาก พูดไม่หยุด
  • เล่นเสียงดัง
  • ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
  • ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
  • รอคอยไม่เป็น
  • ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่  

หากเด็กมีลักษณะในข้อ 1 หรือ 2 รวมกันมากกว่า 6 ข้อ อาการเด็กของท่านมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ