มะเร็ง กับการตรวจสุขภาพ

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » มะเร็ง กับการตรวจสุขภาพ แบ่งปันไปยัง facebook

มะเร็ง กับการตรวจสุขภาพ

       มะเร็ง ที่จริงแล้วเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยการผ่าตัด และให้การรรักษาเสริมด้วยยา และการฉายแสงในบางราย เป็นที่น่าเสียดาย ว่ามีผู้ป่วยไม่มากนัก ที่มีโอกาสที่จะตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะต้นๆ ซึ่งสาเหตุหลักคือประชากรไทยไม่นิยมรับการคัดกรองโรคมะเร็ง เพราะมีความเข้าใจผิดว่า ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่ต้องตรวจก็ได้          

บ่อยครั้ง ที่มีคำปรารภจากผู้ป่วยโรคมะเร็งว่า “ตรวจสุขภาพทุกปี ทำไมจึงตรวจไม่พบโรคมะเร็ง” สาเหตุเป็นเพราะว่า การตรวจสุขภาพประจำปีโดยทั่วไปนั้น มีจุดประสงค์เพื่อจะคัดกรองโรคไม่ติดต่อ ซึ่งพบได้เป็นจำนวนมากในประชากร ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง โดยอาจมีการตรวจความสมบูรณ์ทั่วไปบ้าง เช่น ความสมบูรณ์เม็ดเลือด การทำงานของตับและไต การตรวจปัสสาวะ เป็นต้น และอาจมีการตรวจภาพรังสีปอดซึ่งใช้ปริมาณรังสีน้อย จะมองเห็นความผิดปกติได้ดีระดับหนึ่งเท่านั้น

คำแนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็ง

       มีเป้าหมายที่จะตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยจะทำในบุคคลซึ่งมีภาวะเสี่ยงและไม่มีอาการ ซึ่งจะสามารถทำให้รักษาโรคให้หายขาด และลดอัตราการเสียชีวิตได้ มักจะทำในมะเร็งที่พบบ่อยในพื้นที่นั้นๆ และวิธีการตรวจไม่รุนแรงจนเกินไป รวมถึงบางครั้งการใช้วิธีการตรวจที่ความไวสูง แต่ไม่มีความจำเพาะ จะทำให้เกิดความกังวลของผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น

 

มะเร็งเต้านม

กลุ่มความเสี่ยงปกติ:

     อายุ 25 – 39 ปี ให้พบศัลยแพทย์ศีรษะ คอ และเต้านม เพื่อตรวจเต้านมทุก 1 – 3 ปี

     อายุ 40 ปี ขึ้นไป ให้พบศัลยแพทย์ศีรษะ คอ และเต้านม เพื่อตรวจเต้านมทุก 1 ปี และทำ Mammogram +- Ultrasound ทุก 1 ปี

กลุ่มความเสี่ยงสูง: ได้แก่ ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน, ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมตามประวัติครอบครัว > 20%, ผู้ป่วยที่เคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณหน้าอก, ผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 35ปี และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่ 1.7% ภายใน 5ปี ตาม Gail Model, ผู้ป่วยที่เคยตรวจพบพยาธิสภาพตั้งต้นของมะเร็งเต้านม ให้ตรวจเร็วขึ้น โดย

กลุ่มที่มีประวัติครอบครัวชัดเจน ให้พบศัลยแพทย์ศีรษะ คอ และเต้านม เพื่อตรวจเต้านมทุก ½ - 1 ปี และทำ Mammogram ทุก 1 ปี นับตั้งแต่อายุที่ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมลบไปอีก 10ปี โดยที่อายุไม่น้อยกว่า 30 ปี หรือทำ MRI เต้านมทุก 1 ปี นับตั้งแต่อายุที่ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมลบไปอีก 10ปี โดยที่อายุไม่น้อยกว่า 25 ปี

ผู้ป่วยที่เคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณหน้าอก ให้พบศัลยแพทย์ศีรษะ คอ และเต้านม เพื่อตรวจเต้านมทุก 1ปี เริ่มที่ 8 – 10 ปีหลังได้รับการฉายแสง และเริ่มทำ Mammogram หรือ MRI เต้านม ทุก 1 ปี เริ่มที่ 8 – 10 ปีหลังได้รับการฉายแสง โดยที่อายุไม่น้อยกว่า 25 ปี

ผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 35ปี และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่ 1.7% ภายใน 5ปี ตาม Gail Model ให้เริ่มทำ Mammogram ทุก 1 ปี ได้ทันที

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

         กลุ่มความเสี่ยงปกติ: ไม่เคยมีติ่งเนื้อในลำไส้, ไม่เคยมีประวัติเป็น Inflammatory bowel disease และไม่มีประวัติครอบครัว เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้เริ่มส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ตั้งแต่อายุ 50 ปี และติดตามใน 3ปี หากพบติ่งเนื้อความเสี่ยงสูง,5ปี ในกลุ่มที่พบติ่งเนื้อความเสี่ยงต่ำ และ 10 ปี ในกลุ่มที่ผลการส่องกล้องปกติ

กลุ่มความเสี่ยงสูง

         Inflammatory bowel disease เช่น Ulcerative colitis หรือ Crohn’s colitis ให้เริ่มตรวจที่ 8 ปี นับตั้งแต่มีอาการ  

กลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่   ถ้ามีญาติสายตรง (พ่อ, แม่, พี่น้องท้องเดียวกัน, ลูก) เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้เริ่มตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี หรือ 10 ปีก่อนอายุที่ญาติสายตรงได้รับการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถ้ามีญาติสายรอง (ลุง, ป้า, น้า, อา, ปู่, ย่า, ตา, ยาย) เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยที่ขณะเป็น อายุน้อยกว่า 50 ปี ให้เริ่มตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่อายุ 50 ปี

ถ้ามีญาติสายตรง (พ่อ, แม่, พี่น้องท้องเดียวกัน, ลูก) ตรวจพบติ่งเนื้อความเสี่ยงสูง (high grade dysplasia, ขนาดติ่งเนื้อตั้งแต่ 1cm, villous or tubulovillous histology) ให้เริ่มตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี หรือ 10 ปีก่อนอายุที่ญาติสายตรงตรวจพบติ่งเนื้อความเสี่ยงสูง

 

มะเร็งปอด

ใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose CT) และทำในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ได้แก่ อายุ 55 – 74 ปี และสูบบุหรี่ตั้งแต่ 30 pack-year (จำนวนซองที่สูบ (20มวน) คูณกับจำนวนปี) ขึ้นไป และเลิกบุหรี่น้อยกว่า 15 ปี

อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และ สูบบุหรี่ตั้งแต่ 20 pack-year ร่วมกับความเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่ 1.3% ขึ้นไปโดยใช้ Tammemagi lung cancer risk calculator

PLOS Med 2014; 11:1-13.

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก

พบศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก ร่วมกับ เจาะเลือดตรวจหาค่า PSA ตั้งแต่อายุ 45 ปี

 

มะเร็งปากมดลูก

 

มะเร็งตับ

           พิจารณาจตรวจตับด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasonography) และตรวจเลือดหาซีรั่ม alpha fetoprotein (AFP) ทุก 6 – 12 เดือน ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ผู้ชาย อายุมากกว่า 40 ปี, ผู้หญิง อายุมากกว่า 50 ปี, มีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว, เป็นตับแข็ง

 

โดยสรุป เราควรจะตระหนักมากขึ้น ในการตรวจคัดกรองมะเร็งกันมากขึ้น แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆเลย ด้วยความเหมาะสม เพราะ “มะเร็ง รู้เร็ว รักษาได้”

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ