การทำบอลลูนหัวใจ หนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » การทำบอลลูนหัวใจ หนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ แบ่งปันไปยัง facebook

การทำบอลลูนหัวใจ หนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ

          การทำบอลลูนหัวใจ คือ การขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น โดยการนำอุปกรณ์ที่คล้ายกับบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือด เพื่อดันไขมันในหลอดเลือดให้ไปติดกับผนังหลอดเลือด ซึ่งการทำบอลลูนหัวใจจะใช้เวลาไม่นาน แผลเล็กและมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย

ขั้นตอนการทำบอลลูน

  • ผู้ป่วยจะต้องงดน้ำงดอาหารเป็นเวลา 6 ชั่วโมงก่อนการรักษา
  • แพทย์จะฉีดยาชา ซึ่งอาจเป็นบริเวณขาหนีบ ข้อมือหรือข้อพับ
  • ผู้ป่วยได้รับการใส่สายสวนหัวใจที่มีบอลลูนขนาดเล็ก ติดอยู่ตรงปลายเข้าไปยังหลอดเลือดหัวใจบริเวณที่ตีบหรืออุดตัน
  • เมื่อใส่สายสวนหัวใจเข้าไปถึงบริเวณหลอดเลือดที่ตีบ จึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออกและดันคราบไขมัน หินปูนซึ่งเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบบนลง และขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น หลังจากนั้นจึงทำให้บอลลูนแฟบเหมือนเดิม แล้วดึงสายสวนหัวใจออกจากร่างกาย
  • ในบางกรณี แพทย์จะใส่ขดลวดเข้าไปด้วยเพื่อช่วยลดโอกาสที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบใหม่อีกครั้งหนึ่ง

การทำบอลลูนกับการทำบายพาสแตกต่างกันอย่างไร

          การทำบอลลูนหัวใจจะมีข้อดีตรงที่ทำง่ายกว่า ไม่ต้องผ่าตัด ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นสั้นกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำบายพาส แต่ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจอาจทำให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการซ้ำได้อีก การทำบายพาสจะมีขั้นตอนยุ่งยากกว่า ค่ารักษาสูงกว่า พักฟื้นนานกว่าและผลข้างเคียงในการรักษามากกว่าการทำบอลลูน แต่โอกาสกลับมาป่วยซ้ำก็น้อยกว่า

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ