โรคไส้เลื่อน

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » โรคไส้เลื่อน แบ่งปันไปยัง facebook

โรคไส้เลื่อน คือ ผนังช่องท้องยืดตัวยื่นลงมาที่ขาหนีบและมีอวัยวะภายในช่องท้องยื่นตามมาด้วย เช่น ลำไส้ ผนังกระเพาะปัสสาวะหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ

 

อาการ

          - มีก้อนบวมบริเวณขาหนีบ บางรายบวมลงมาถึงถุงอัณฑะ บวมมากเวลายืน ไอ จาม ออกแรงและยุบลงเวลานอนราบ

          - ส่วนใหญ่ไม่มีอาการปวด ยกเว้น ก้อนมีขนาดใหญ่จะมีอาการปวดตึงเวลายืนและทุเลาปวด เมื่อนอนราบ

          - ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องมาโรงพยาบาลทันที คือ ก้อนบวมตึงกดเจ็บ ดันไม่กลับและปวดรุนแรงตลอดเวลา

เนื่องจากอวัยวะภายในช่องท้องถูกรัดแน่นในถุงไส้เลื่อน

 

พบบ่อยใน

          - ผู้ชาย มากกว่าผู้หญิง

          - เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี, ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี

          - คนอ้วน

          - ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ที่มีอาการไอเรื้อรัง

          - ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต ที่ต้องเบ่งปัสสาวะเป็นเวลานานๆ

          - ผู้ที่ยกของหนักบ่อยๆ

 

วิธีรักษา คือ การผ่าตัดเสริมความแข็งแรงของผนังหน้าท้อง บริเวณขาหนีบด้วยแผ่นตาข่าย โดย

 

ผ่าตัดแบบเปิด

ผ่าตัดแบบส่องกล้อง

แผลยาวประมาณ 6-7 ซม.

แผลขนาด 1ซม. 3 แผล บริเวณสะดือและหน้าท้อง

แผลผ่าตัดแก้ไขไส้เลื่อนได้ข้างเดียว

สามารถแก้ไขไส้เลื่อนได้ทั้ง 2 ข้าง ในแผลผ่าตัดเดียวกัน

ผ่าตัดโดยฉีดยาชาเข้าไขสันหลังหรือฉีดยาชาเฉพาะที่

ผ่าตัดโดยดมยาสลบ

ปวดชา แผลผ่าตัดและบริเวณขาหนีบได้เป็นเวลานาน

ปวดแผลเล็กน้อย

นอนโรงพยาบาล 2 วัน

นอนโรงพยาบาล 2 วัน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ