โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบ่งปันไปยัง facebook

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) เป็นกลุ่มโรคที่มีภาวะตีบแคบของทางเดินหายใจจะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆตามการดำเนินของโรค โดยทั่วไปมักหมายรวมถึงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมปอดโป่งพอง ส่งผลให้การหายใจเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนทำได้ไม่ดี

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยเรื้อรังจากอาการของโรคส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายใจ จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรค ได้แก่

  1. การสูบบุหรี่ในปริมาณมาก
  2. การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
  3. การสูดหายใจเอาควันหรือฝุ่นละอองเข้าปอดเป็นเวลานานๆ
  4. พันธุกรรม
  5. อายุที่มากขึ้นมีผลต่อความเสื่อมของหลอดลม
  6. สาเหตุอื่นๆ เช่น การเจริญที่ผิดปกติของหลอดลม มีการแบ่งแยกผิดปกติหรือการได้รับสารพิษขณะอยู่ในครรภ์ เป็นต้น

 

อาการ

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะมีอาการหอบเหนื่อยรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยแม้ออกแรงเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของปอดอุดกั้นเรื้อรังมากจะมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย และส่งผลกระทบต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง

 

การรักษาและการดูแล

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้หายขาด การรักษาจึงเป็นเพียงการประคับประคองแก้ไขตามอาการผู้ป่วย โดยมีจุดมุ่งหมายของการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ดังนี้

  1. บรรเทาอาการของโรคให้ลดน้อยลง เช่น การให้ยาขยายหลอดลม การให้ออกซิเจนเมื่อมีอาการหอบเหนื่อยหายใจลำบาก ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนในขนาดที่พอเหมาะ ภายใต้การดูแลของแพทย์
  2. ป้องกันการกำเริบของโรค โดยเฉพาะปัจจัยชักนำ เช่น การสูบบุหรี่ การติดเชื้อ การปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง เป็นต้น
  3. คงสมรรถภาพการทำงานของปอดไว้หรือให้เสื่อมลงช้าที่สุด ในปัจจุบันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาที่สำคัญ คือให้คำแนะนำให้การเลิกสูบบุหรี่ เพื่อหยุดยั้งหรือชะลอพยาธิสภาพที่เหลืออยู่ให้ทำหน้าที่ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และการดำเนินของโรคไม่ดำเนินต่อไปอีกหรือดำเนินไปอย่างรวดเร็ว

  1. ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การรักษาจึงเป็นการประคับประคองแก้ไขตามสภาพที่เกิดขึ้น รวมถึงการมีส่วนรวมของครอบครัวในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ และผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพและสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุด
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ