การตรวจสมรรถภาพการได้ยินทางอาชีวเวชศาสตร์ ( Audiogram)

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » การตรวจสมรรถภาพการได้ยินทางอาชีวเวชศาสตร์ ( Audiogram) แบ่งปันไปยัง facebook

การตรวจสมรรถภาพการได้ยินทางอาชีวเวชศาสตร์ ( Audiogram)
  

      ถือเป็นการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังภาวะสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง  ในพนักงานที่ต้องทำงานสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน  ซึ่งหากพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก   และได้รับคำแนะนำหรือการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ  จะช่วยให้พนักงานลดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรจากโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดังได้

 

เมื่อไหร่ที่พนักงานควรได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

   การตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน จะต้องทำในทุกสถานประกอบการที่มีระดับเสียงในสิ่งแวดล้อม ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล เอ

ชนิดของการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน และถวามถี่ในการตรวจ

1.การตรวจก่อนจ้างงาน (pre-placement)  เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน (baseline audiogram)  แก่พนักงานที่รับเข้าทำงานใหม่ ในแผนกที่มี เสียงดัง ง ≥85 เดซิเบลเอ    ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการ ได้ยินภายใน 30วัน

2.การตรวจระหว่างทำงาน (periodic  audiometric examinations) หรือการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการ ได้ยินประจ าปี เพื่อให้ได้ annual audiogram หรือการตรวจติดตามเพื่อเฝ้ าระวัง เป็นการตรวจให้กับลูกจ้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเนื่องจากเสียงดัง  ควรดำเนินการดังนี้

   2.1 แผนกที่มีผลการประเมินการสัมผัสเสียง TWA 8 ชวั่ โมง มีระดบั เสียง 80-84 เดซิเบล ควรตรวจ เพื่อการเฝ้าระวงัอย่างน้อยทุก 3 ปี

   2.2 แผนกที่มีผลการประเมินการสัมผัสเสียง TWA 8 ชวั่ โมง มีระดบั เสียงมากกว่า 85 เดซิเบล (เอ) ควรตรวจเพื่อการเฝ้าระวังอย่างน้อยทุก 1 ปี


การเตรียมตัวสำหรับผู้รับการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน

   หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังทุกชนิดไม่ว่าที่บ้าน หรือที่ทำงานเช่น จากการฟังเพลงจากวทิยุ สถาน บันเทิง เครื่องเสียงในรถยนต์ เป็นต้น ก่อนเข้ารับการตรวจการได้ยินอย่างนอ้ย 12 ชั่วโมง ท้งนี้เพื่อป้องกนั ภาวะหูตึงชั่วคราว (temporary threshold shift) ซึ่งอาจท าให้ผลการตรวจผิดพลาด


คำแนะนำสำหรับพนักงานที่ต้องทำงานสัมผัสกับเสียงดัง

   แนะนำสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังอย่างเคร่งครัด  และตรวจติดตามการได้ยินซ้ำเป็นระยะ    หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน ควรปรึกษาแพทย์

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ