รู้หรือไม่? การฝังเข็ม และ การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยรักษาภาวะลองโควิดได้

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » รู้หรือไม่? การฝังเข็ม และ การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยรักษาภาวะลองโควิดได้ แบ่งปันไปยัง facebook

รู้หรือไม่? การฝังเข็ม และ การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยรักษาภาวะลองโควิดได้

 

 ฝังเข็ม + TMS การรักษาทางเลือกพิชิตลองโควิด 

หลังจากที่มีการระบาดของโรค โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นว่ามีผู้ที่ได้รับเชื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาการของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีอาการเยอะ และบางคนก็อาจจะไม่มีอาการอะไรเลย อย่างไรก็ตาม แม้จะหายจากโรคโควิด-19แล้ว คนไข้หลายๆคนก็รู้สึกว่าตัวเองยังฟื้นตัวกลับมาไม่เต็ม 100% บางคนมีอาการไอเรื้อรัง บางคนรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา หรือไม่ก็อาจจะมีภาวะคิดอะไรไม่ออก หรือ สมองตื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้หากคุณเป็นหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ก็อาจจะบ่งบอกได้ว่า คุณกำลังมีเผชิญกับปัญหาภาวะลองโควิด (Long COVID)

 

แล้ว ภาวะลองโควิด (Long COVID) คืออะไร...

อันนี้เป็นคำถามที่ดีมากอาจจะยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนในทางการแพทย์ แต่สามารถสรุปง่ายๆคือ ภาวะนี้เป็นผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่แน่ใจถึงกลไกที่ทำให้เกิดภาวะลองโควิด แต่เราพอรู้ว่าภาวะนี้เกี่ยวข้องกับการอักเสบของร่างกาย ถึงอย่างนั้นการคาดเดาว่าใครจะมีภาวะลองโควิดบ้างก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะไม่ว่าคนที่อาการมาก หรืออาการน้อยในช่วงที่ป่วย ก็สามารถที่จะมีภาวะลองโควิดได้พอๆกัน

 

อาการของภาวะลองโควิดก็มีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น: 

ไอเรื้อรัง หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เป็นต้น แต่อาการและความรุนแรงในคนไข้แต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ด้วยความกว้างในอาการของโรค และความเข้าใจในตัวโรคที่ยังมีไม่มากนัก ทำให้ ณ ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาภาวะลองโควิดโดยเฉพาะ แล้วแบบนี้ คนไข้ที่มีอาการของภาวะลองโควิดจะมีวิธีอะไรรักษาได้บ้าง?

การฝังเข็มเองเป็นศาสตร์การแพทย์ที่มีมานาน หลักการในการรักษาคือการใช้เข็มขนาดเล็ก ฝังลงไปที่จุดต่างๆของร่างกาย ผสมผสานกับการขยับมือของแพทย์ หรือการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นในบางกรณี การฝังเข็มเป็นการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีต่างๆ เข้าสู่ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง และ สมอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมีที่เกิดขึ้น จะส่งเสริมให้เกิดการซ่อมแซมส่วนต่างๆ และ กระตุ้นให้สภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น

 

ในการรักษาภาวะลองโควิด สามารถที่จะฝังเข็ม ร่วมกับการกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) เพื่อให้เห็นผลได้ดีที่สุด

เนื่องจากว่าโรคโควิดอาจจะทำให้เกิดสภาวะอักเสบของเส้นประสาทและเส้นเลือดขนาดเล็กในร่างกาย คนไข้มักจะมีปัญหาระบบประสาท ไขสันหลัง รากประสาทและเส้นประสาทเป็นส่วนใหญ่ โดยการอักเสบที่เกิดขึ้นมักจะเกิดทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสั่งงานของอวัยวะทั้งหมดรวมถึงกล้ามเนื้อโดยรอบ ซึ่งหากกล้ามเนื้อเกิดพังผืดก็จะเกิดการหดรัดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทที่ถูกพังผืดรัดนานๆเกิดการบาดเจ็บกลายเป็นแผลรอบๆบริเวณที่พังผืดรัดไว้ ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทนั้นๆทำงานผิดปกติ การใช้เข็มเพื่อสะกิดพังผืดออก หรือเทคนิคที่เรียกว่า Dry needle สามารถตัดพังผืดในกล้ามเนื้อออก ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว แล้วเส้นประสาทถูกรัดอยู่ในกล้ามเนื้อนั้นก็สามารถกลับมาส่งสัญญาณได้ตามปกติ  ส่วนการใช้ TMS นั้น เป็นการกระตุ้นเพื่อหวังผลของการสั่นเส้นประสาทโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสั่นนี้จะทำให้เกิดช่องว่างข้างใต้พังผืดที่มีแผลรอบๆเส้นประสาทที่ถูกพังผืดรัดอยู่  เมื่อเกิดช่องว่างจึงทำให้เส้นประสาทสามารถรักษาแผลของตัวเองได้ อวัยวะต่างๆจึงสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ เช่น ปอดสามารถขยายตัวได้มากขึ้น หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ดีขึ้น ลำไส้สามารถทำงานบีบตัวได้ดีขึ้น กระเพาะปัสสาวะสามารถขยายตัวได้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทำให้อาการของภาวะลองโควิดทุเลาลงได้

  

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายเข้าปรึกษาแพทย์ในเวลาทำการ 8.00-17.00น. จันทร์-ศุกร์ ได้ที่ :

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด อาคาร 2 ชั้น4

โทรติดต่อทำนัดล่วงหน้า 090-905-6609, 02-0332900 ต่อ 4101-4102 (คุณวันเพ็ญ)

ข้อมูลเพิ่มเติม

  - ใช้เวลา 30 - 60 นาที ในการทำหัตการในแต่ละครั้ง

  - แพทย์เป็นผู้ตรวจประเมินและพิจารณาเป็นรายเคส

  - ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ (หากพร้อมสามารถติดต่อนัดหมายเข้ารับบริการได้ทันที)

  - สามารถเข้ารับบริการได้ตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป

ราคานี้ รวมค่าบริการ รพ.เรียบร้อยแล้ว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ