ตับแข็ง ภัยเงียบที่เสี่ยงมะเร็งตับ

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » ตับแข็ง ภัยเงียบที่เสี่ยงมะเร็งตับ แบ่งปันไปยัง facebook

ตับแข็ง ภัยเงียบที่เสี่ยงมะเร็งตับ

(บทความโดย พญ.วรวรรณ บุญรักษา อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร)


 

โรคตับแข็ง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลาย เกิดการซ่อมแซมภายในเนื้อตับ เกิดพังผืดแทรกภายในตับ หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องนานขึ้นจะกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง

- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

- ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี

- ไขมันพอกตับ

- ตับอักเสบออโตอิมมูน การอักเสบของท่อน้ำดีเรื้อรังบางชนิด

- จากยาบางชนิด เช่น Methotrexate

 

ตับแข็งมีอาการอย่างไร

ตับแข็งในระยะต้นๆ อาจไม่แสดงอาการที่ซัดเจน อาจมีเพียงอาการอ่อนเพลีย ต่อมาเมื่อโรคดำเนินต่อไป จะ

เริ่มมีน้ำในช่องท้อง ท้องโตขึ้น หรือท้องมาน มีตาเหลืองตัวเหลือง อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหารจากเส้น

เลือดขอดที่หลอดอาหารแตก ทำให้อาเจียนเป็นเลือด อาจมีภาวะสับสน บางรายมีอาจอาการเหนื่อย

 

ตับแข็งรักษาได้ไหม

ตับแข็งในระยะแรกเริ่มบางชนิดหากได้รับการควบคุมดูแล ไม่ให้ตับถูกทำลายต่อเนื่อง ยังมีโอกาสกลับไปเป็น

ตับที่ดีขึ้นได้ เช่น การได้รับการรักษาไวรัส การหยุดดื่มแอลกออฮอล์ แต่หากปล่อยไว้ จนตับถูกทำลายไปมาก

ตับแข็งดำเนินไปสู่ระยะท้ายๆ ก็ไม่สามารถถดถอยกลับไปเป็นตับที่ปกติได้

 

ตับแข็งทำให้เสี่ยงมะเร็งตับจริงหรือไม่ มีวิธีตรวจคัดกรองอย่างไร

ตับแข็ง เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งตับ ไม่ว่าตับแข็งนั้นจะเกิดจากเหตุใด ก็เสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่

เป็นตับแข็ง ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยการทำอุลตราซาวน์ตับ ร่วมกับการตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ

(AFP) อย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 เดือน

 

ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาความเสี่ยงโรคตับแข็งเมื่อใด

- บุคคลทั่วไป ที่ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ

- เมื่อตรวจพบไวรัสตับอักเสบ

- มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือมีโรคไขมันพอกตับอยู่เดิม

- มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ

- บุคคลทั่วไปที่สนใจตรวจสุขภาพ เมื่ออายมากขึ้น ความเสี่ยงโรคต่างๆก็มากขึ้น

 

 

ปรึกษาออนไลน์

 นัดหมายรับบริการ

สนใจแพคเกจ 

 

 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ