พฤติกรรมที่เข้าข่ายกลุ่มอาการ โนโมโฟเบีย พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา ต้องคอยคลำกระเป๋ากางเกงหรือกระโปรงตลอดว่าโทรศัพท์อยู่ข้างๆ ตัวหรือไม่ หมกมุ่นอยู่กับการเช็คข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

 หน้าแรก
» ข่าวสารและกิจกรรม » พฤติกรรมที่เข้าข่ายกลุ่มอาการ โนโมโฟเบีย พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา ต้องคอยคลำกระเป๋ากางเกงหรือกระโปรงตลอดว่าโทรศัพท์อยู่ข้างๆ ตัวหรือไม่ หมกมุ่นอยู่กับการเช็คข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา แบ่งปันไปยัง facebook

พฤติกรรมที่เข้าข่ายกลุ่มอาการ โนโมโฟเบีย
       พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา ต้องคอยคลำกระเป๋ากางเกงหรือกระโปรงตลอดว่าโทรศัพท์อยู่ข้างๆ ตัวหรือไม่ หมกมุ่นอยู่กับการเช็คข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา แม้กระทั่งได้ยินเสียงคล้ายๆ เสียงข้อความเข้า ถ้าไม่ได้ตรวจดูโทรศัพท์จะมีอาการกระวนกระวายใจ ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติภารกิจตรงหน้าได้สำเร็จ ต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เพื่อเช็คข้อความก่อน เมื่อตื่นนอนรีบคว้าโทรศัพท์มาเช็คข้อความ หรือก่อนนอนเล่นโทรศัพท์จนกระทั่งหลับ ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ นั่งรอรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า

รู้ไหม ? โนโมโฟเบียทำเสี่ยงอีกสารพัดโรค

นิ้วล็อก 
    เกิดจากการใช้มือกด จิ้ม สไลด์หน้าจอติดต่อกันนานเกินไป ทำให้มีอาการนิ้วชา ปวดข้อมือ เส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองนิ้วมือเริ่มแข็ง กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ เป็นสัญญาณบอกให้รีบไปพบแพทย์
อาการทางสายตา 
    เกิดจากการเพ่งสายตาจ้องหน้าจอเล็กๆ นานเกินไปทำให้สายตาล้า เกิดอาการตาแห้ง ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะทำให้จอประสาทตาและวุ้นในตาเสื่อมได้
ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ 
    เนื่องจากคนส่วนใหญ่เวลาเล่นโทรศัพท์มักจะก้มหน้า ค้อมตัวลง ทำให้คอ บ่า ไหล่ เกิดอาการเกร็ง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากเล่นเป็นเวลานานๆ อาจมีอาการปวดศีรษะตามมา 
หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร  
    จากการนั่งผิดท่า นั่งเกร็งเป็นเวลานานๆ และทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย หากเป็นหนักจนมีอาการปวดมากขึ้นจะต้องทำการผ่าตัดรักษา
โรคอ้วน  
    แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้สมาร์ทโฟนนานๆ โดยตรง แต่ถ้าเราติดมือถือขนาดหนัก นั่งเล่นทั้งวันจนแทบจะไม่ลุกเดินไปไหน ร่างกายก็จะไม่เกิดการเผาผลาญ อาหารที่เราทานเข้าไปก็จะเป็นไขมันไปสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจนเกิดภาวะโรคอ้วน 

ผลเสียหรือผลกระทบต่อสุขภาพกาย
  
เรื่องสายตา ที่ใช้งานหนัก ยิ่งถ้าบางคนอยู่ในที่แสงไม่พอและใช้งานโทรศัพท์มือถือที่ต้องใช้แสงจ้าด้วยยิ่งมีปัญหามากขึ้นกับสายตา อาการปวดเมื่อยคอ บ่าไหล่ เพราะเวลาใช้งานโทรศัพท์จะเกิดอาการเกร็งโดยไม่รู้ตัว ถ้าเล่นนานๆ จะมีอาการปวดศีรษะตามมา และปัญหาเรื่องสมาธิเพราะตัวภาพและจอจะรบกวนทำให้ระบบสมาธิลดลง ฉะนั้นในเด็กจึงแนะนำว่าไม่ควรเล่นมากเกินไป เนื่องจากอยู่ในวัยที่กำลังพัฒนาสมาธิ ส่งผลให้มีปัญหาในเรื่องสมาธิสั้น ส่งผลให้เด็กหลายคนอารมณ์ร้อนและขี้หงุดหงิดมากขึ้น

    ดังนั้น อาการโนโมโฟเบียไม่ได้เป็นโรครุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา แค่ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของตัวเองหากิจกรรมอื่นๆ ทำนอกเหนือจากการพักผ่อนด้วยการเล่นเกม ฟังเพลง ดูหนังในโทรศัพท์มือถือ เช่น ออกไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์ นั่งพูดคุยกับเพื่อนแบบเห็นหน้ากัน แต่ทั้งนี้อยู่ที่ว่าถ้าเราเริ่มรู้สึกว่ามีผลกระทบ เช่น รู้สึกกังวลใจมาก ไม่สบายใจบ่อย ๆ หงุดหงิดง่าย ควรเริ่มปรับเปลี่ยนซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง

สอบถามข้อมูลและเข้ารับบริการที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

88/8-9 ถนนเทพารักษ์ กม.14.5 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 02-033-2900
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ