Digital Mammogram (เครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล) - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

 หน้าแรก
» เทคโนโลยีทางการแพทย์และการเตรียมตัวตรวจ » Digital Mammogram (เครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล)  แบ่งปันไปยัง facebook

Digital Mammogram (เครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล) / Digital Mammogram
การตรวจเอ็กซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นวิธีในการตรวจพบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
-  เป็นเครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่ผู้รับบริการจะได้รับปริมาณรังสีต่ำ
-  สามารถแยกความแตกต่างของไขมัน และเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ของเต้านมได้ชัดเจน
-  สามารถเห็นเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็ง  ระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี
-  เป็นเครื่องมือที่ให้ผลถูกต้อง และแม่นยำได้สูงถึง 90 %

           การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านม เป็นการตรวจที่สามารถช่วยหาความผิดปกติของเต้านม เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ หรือใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของเต้านมในผู้ที่พบอาการผิดปกติ เช่น คลำพบก้อน มีอาการเจ็บ หรือมีของเหลวไหลผิดปกติออกจากหัวนม

           ท่านจะได้รับการตรวจทั้ง 2 วิธีในครั้งเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจมากขึ้น โดยผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมทุกปี

การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรม

           1.ไม่ควรนัดตรวจแมมโมแกรมในช่วงให้นมบุตร หรือเมื่อท่านรู้สึกคัดตึงเต้านม หรือในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เพราะจะทำให้ท่านเจ็บระหว่างตรวจมากว่าช่วงเวลาอื่น โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจแมมโมแกรม คือ ช่วงหลังหมดประจำเดือน
           2.ในวันที่ตรวจแมมโมแกรม ไม่ควรทาแป้ง สารระงับกลิ่นกาย หรือโลชั่น บริเวณรักแร้,หรือทรวงอก เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เกิดจุดบนภาพ ทำให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
           3.สำหรับท่านที่เคยตรวจแมมโมแกรม ควรนำภาพและผลการตรวจเดิมมาด้วย เพื่อให้รังสีแพทย์ใช้เปรียบเทียบท่านควรมาถึงแผนกรังสีวิทยาก่อนเวลานัดตรวจ 15 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนรับการตรวจ
           4.ในกรณีที่ท่านสงสัยว่า อาจจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือแพทย์ก่อนตรวจแมมโมแกรมทุกครั้ง
           5. หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม เช่น คลำพบก้อน หรือมีของเหลวไหลออกจากหัวนมโดยไม่ทราบสาเหตุ ท่านควรแจ้งนักรังสีการแพทย์ ผู้ทำการถ่ายภาพให้ทราบ ก่อนทำการตรวจ
           6.หากท่านมีการเสริมเต้านมจะต้องเซ็นใบยินยอมรับการตรวจแมมโมแกรมทุกครั้ง เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรม อาจทำให้เกิดการรั่วของถุงได้ แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยมาก

ขั้นตอนการตรวจแมมโมแกรม Procedure of mammogram
           1.ก่อนตรวจ เจ้าหน้าที่จะให้ท่านเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดของโรงพยาบาล โดยต้องถอดเสื้อชั้นใน ,เครื่องประดับต่างๆ และวัตถุที่เป็นโลหะทุกชนิด ออกจากบริเวณอวัยวะที่จะทำการตรวจ
           2.ท่านจะได้รับการถ่ายภาพเอ็กซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรม โดยนักรังสีการแพทย์ที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น และรับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม และอ่านผลทางรังสีโดยรังสีแพทย์
           3.นักรังสีการแพทย์หญิงจะทำการจัดท่าและตำแหน่งเต้านม โดยเต้านมจะถูกกดด้วยแผ่นพลาสติกบนตัวเครื่องทีละข้าง อย่างน้อย 2 ท่าคือท่าตรง และท่าเฉียง โดยกดเต้านมจากด้านบนลงด้านล่าง และกดเต้านมจากด้านในไปด้านนอก ใช้เวลาขณะกดครั้งละ 1 นาที
           4.ระหว่างการตรวจท่านจะรู้สึกถึงแรงกดของแผ่นพลาสติก,ถ้ารู้สึกเจ็บมาก ควรแจ้งนักรังสีการแพทย์ให้ทราบทันทีอย่างไรก็ตาม การกดเต้านมมีความสำคัญและจำเป็น เนื่องจากทำให้ความหนาของเต้านมลดลง มีผลทำให้เห็นเนื้อเยื่อของเต้านมชัดเจนขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดปริมาณรังสีที่ท่านจะได้รับด้วย
           5.ในขณะถ่ายภาพนักรังสีการแพทย์ จะแจ้งให้ท่านอยู่นิ่งๆ และกลั่นหายใจ 2-3 วินาที เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด
           6.หลังจากทำการตรวจด้วยการเอ็กซเรย์เต้านมแล้ว รังสีแพทย์จะตรวจสอบภาพทั้งหมด ในกรณีที่ภาพไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย อาจมีการถ่ายภาพเพิ่ม จากนั้นจะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม  การตรวจนี้ ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด

ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวนด์เต้านม
       1.การตรวจอัลตร้าซาวนด์เต้านม ทำโดยรังสีแพทย์
       2.เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยแพทย์ผู้หญิง จะเชิญท่านเข้าตรวจในห้องอัลตร้าซาวด์ และให้ท่านนอนหงายบนเตียง ยกแขนทั้ง 2 ข้างไว้เหนือศีรษะ
      3.รังสีแพทย์จะทาเจลลงบนเต้านมหรือบนหัวตรวจ จากนั้นจะนำหัวตรวจอัลตร้าซาวนด์วางบนเต้านม และเคลื่อนหัวตรวจไปทั่วเต้านม ระหว่างที่หัวตรวจอัลตร้าซาวด์ กดลงบนตำแหน่งที่ท่านเจ็บอยู่อาจทำให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อย
      4. หลังจากตรวจเสร็จ เจ้าหน้าที่จะทำการเช็ดเจลทำความสะอาดเต้านมให้ ท่านสามารถเปลี่ยนชุดเดิมของท่านและทำกิจกรรมอื่นได้ตามปกติ โดยรังสีแพทย์จะทำการอ่านผลการตรวจให้แพทย์เจ้าของไข้ เป็นผู้สรุปผลการตรวจให้ท่านทราบ
การตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมนี้  จะใช้เวลาประมาณ 45 น.

หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้
โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7

02 033 2900 หรือสายด่วน 1609
FanPage : fb.com/chularat3
Line : @chularat3

 

ปรึกษาออนไลน์

 นัดหมายรับบริการ

สนใจแพคเกจ 

สอบถามข้อมูลและเข้ารับบริการที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

88/8-9 ถนนเทพารักษ์ กม.14.5 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 02-033-2900
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ