Hand Surgery Center (Microscopic Surgery)

 Home
» Clinics and Specialized Centers » Hand Surgery Center (Microscopic Surgery)  แบ่งปันไปยัง facebook

Wichit Siritattarong, M.D.

Orthopaedic Surgery

Dr.Samran Pookhang,M.D

Orthopaedic Surgery

Pichet Sangthongsil,M.D.

Orthopaedic Surgery

Dr.Saichol Eongtrakul, M.D.

Orthopaedic Surgery

Ukrit Chaweewannakorn,M.D

Orthopaedic Surgery

Songsak Suphachokauychai, M.D

Orthopaedic Surgery

Natcha Ariyaprakai,M.D

ศัลยศาสตร์ตกแต่ง

Q : ภาวะนิ้วเกิน มีสาเหตุมาจากอะไร?

 A : ภาวะนิ้วเกินเกิดจากความผิดปกติในการสร้างนิ้วมือหรือเท้าของทารกในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แต่ยังไม่พบปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดภาวะนิ้วเกิน อาจเกิดความแปรปรวนของการแบ่งเซลล์ในระยะสร้างนิ้ว แต่มีนิ้วเกินบางชนิดพบว่ามีสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

Q : ภาวะนิ้วเกิน หมายถึงอะไร?

 A : ภาวะที่มือหรือเท้าแต่ละข้างมีนิ้วมากกว่า 5 นิ้ว โดยนิ้วที่เกินมาอาจมีขนาดเล็กเป็นติ่งเนื้อไม่มีกระดูกเลยหรือมีกระดูกชิ้นเล็กๆ แต่ตรงส่วนโคนไม่มีกระดูกติดกับกระดูกปกติมีเพียงผิวหนังที่คอดเล็กคล้ายขั้วผลไม้ หรือนิ้วที่เกินมีการพัฒนาจนมีกระดูกและเล็บสมบูรณ์คล้ายนิ้วปกติ แต่มักมีขนาดเล็กกว่าและเส้นเอ็นที่ควบคุมการงอเหยียดข้อต่อมักไม่สมบูรณ์ ส่วนโคนกระดูกมีการเชื่อมติดกับเนื้อกระดูกหรือข้อต่อของนิ้วปกติ เป็นต้น

Q : การเก็บรักษาอวัยวะส่วนที่ขาด ทำอย่างไรบ้าง?

 A : - นิ้วขาด แขนขาด มือขาด ขาขาด ควรใช้ถุงพลาสติกสะอาดสวมแล้วรัดปากถุงให้แน่นจากนั้น จุ่มทั้งถุงลงในน้ำที่มีน้ำแข็งอยู่ด้วย เพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เย็นจนเกินไป (อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 4 องศาเซลเซียส)
- ห้ามนำอวัยวะที่ขาดแช่ในน้ำแข็งที่ไม่มีน้ำปนเด็ดขาด เพราะเนื้อเยื่อจะเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง จะทำให้เซลล์ตาย
- การเก็บรักษาวิธีนี้ จะทำให้นิ้วทนการขาดเลือดได้ถึง 24 ชั่วโมง แขน ขา มือ ทนการขาดเลือดได้ถึง 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

Q : เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอวัยวะขาดจะต้องช่วยเหลืออย่างไรบ้าง?

 A : 1. ต้องห้ามเลือดก่อน โดยเฉพาะถ้าเป็นการขาดบริเวณ แขน , ต้นแขน , ขา จะมีเลือดออกมากต้องใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซ จำนวนมาก ๆ ปิดแผล กดให้แน่นเพื่อห้ามเลือด
2. ตรวจสอบดูว่า อวัยวะที่ขาดนั้นขาดออกจากตัวผู้ป่วยหรือเปล่า ถ้าขาดออกไปเลยต้องมีการเก็บรักษาที่ถูกวิธี ซึ่งจะกล่าวในอันดับต่อไป ถ้ายังมีเนื้อเยื่อบางส่วนติดกันอยู่ หลังจากห้ามเลือดแล้ว พยายามประคองให้ส่วนที่ขาดไม่ถูกดึงรั้งไปมา เพื่อป้องกันอันตรายไม่ให้มากกว่าที่เป็นอยู่
3. เมื่อให้การปฐมพยาบาลในเบื้องต้นแล้ว การจะส่งผู้ป่วยไปรักษาตัวต่อในโรงพยาบาลนั้น ควรโทรศัพท์ติดต่อไป ตรวจสอบดูก่อนเพื่อขอคำปรึกษาว่า โรงพยาบาลนั้น ๆ มีแพทย์พร้อมจะทำการผ่าตัดได้หรือเปล่า เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาย้ายโรงพยาบาลในภายหลัง

Q : การผ่าตัดต่ออวัยวะ คืออะไร?

 A : คือ การผ่าตัดที่กระทำในผู้ป่วยที่มีอวัยวะอันได้แก่ แขน , ขา , มือ , นิ้ว หรืออวัยวะเพศขาดออกไปจากร่างกาย หรือไม่ขาดออกไปจากร่างกายหมด แต่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนที่ได้รับบาดเจ็บถูกทำลาย การผ่าตัดนี้จะต้องมีการเชื่อมต่อเส้นเลือด หรือสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนที่อยู่ปลายอวัยวะที่ต่อนั้นให้มีชีวิตอยู่ได้
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ