Q : แมมโมแกรมคืออะไร
A : เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ กดเต้านมให้แบนราบมากที่สุดและถ่ายภาพเต้านมข้างละ 2 ท่า มีการทำอัลตราซาวด์เพิ่ม เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือยืนยันว่าสิ่งที่พบผิดปกติในแมมโมแกรม ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัย มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
Q : ตรวจแมมโมแกรม เจ็บไหม?
A : - ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 - 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยวิธีนี้ปีละ 2 ครั้ง และผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละ 2 ครั้ง แต่หากตรวจ แล้วพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการนัดตรวจเป็นประจำทุกๆ 3–6 เดือน
- สตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
- ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทอ.งเป็นเวลานานกว่า 5 ปี
Q : หากเสริมหน้าอกมา สามารถตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) ได้หรือไม่?
A : หากลูกค้าเสริมหน้าอกมานานแล้ว และไม่มีแผล สามารถตรวจได้
Q : กำลังมีประจำเดือนอยู่ ทำแมมโมแกรมได้หรือไม่
A : พบว่าระยะของประจำเดือน ไม่มีผลต่อภาพที่ได้จากแมมโมแกรมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ช่วงที่ใกล้มีประจำเดือนอยู่เต้านมจะมีการคัดตึงตามธรรมชาติ ทำให้เจ็บเวลากดเต้านมขณะทำแมมโมแกรม ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจ คือ 7-14 วันหลังมีประจำเดือน
Q : ใช้เวลาตรวจนานไหม
A : ขั้นตอนการตรวจทั้งแมมโมแกรม และอัลตราซาวนด์ รวมทั้งอธิบายผล โดยทั่วๆไปประมาณ 1 ชั่วโมง
Q : ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรมอย่างไรบ้าง?
A : การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจแมมโมแกรม ไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหารใดๆ แต่ไม่ควรทาแป้ง ครีมถนอมผิว และสเปรย์ระงับกลิ่นกายที่บริเวณเต้านม หรือรักแร้
แนะนำควรตรวจหลังมีประจำเดือน 7-10 วัน
Q : เราสามารถตรวจสุขภาพตอนเป็นหวัดได้หรือไม่?
A : การตรวจสุขภาพที่ให้ผลแน่นอนและดีที่สุด ควรตรวจในช่วงที่ร่างกายเป็นปกติ ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ
Q : วัยรุ่น ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?
A : โปรแกรมตรวจที่เหมาะสมกับช่วงนี้ควรจะเป็นการตรวจร่างกายโดยรวม ตรวจความสมบรูณ์ของเม็ดเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของตับ ตรวจการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะและเอกซเรย์ปอด เป็นต้น
Q : วัยกลางคน ควรเน้นการตรวจสุขภาพด้านใด?
A : - ผู้หญิงควรจะเน้นการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- ผู้ชายควรเน้นการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากในช่วงอายุ 50 ปี (ยกเว้นผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรตรวจช่วงอายุ 40 ปี) ในช่วงวัยนี้ควรตรวจหาHโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคอ้วน โรคมะเร็งและตรวจสายตา เป็นต้น
Q : วัยสูงอายุ ควรเน้นการตรวจสุขภาพด้านใด?
A : ควรเน้นการตรวจการทำงานของร่างกายอย่างละเอียด เนื่องจากสุขภาพร่างกายจะเริ่มถดถอย มีความเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง อวัยวะในช่องท้อง ระบบทางเดินอาหาร ไต เป็นต้น