Q : พื้นที่อับอากาศคืออะไร?
A : สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็น พิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่นถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้
Q : อันตรายจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศมีอะไรบ้าง?
A : - การขาดออกซิเจน
- ไฟไหม้เนื่องจากการระเบิดของแก๊สที่ติดไฟได้ ได้แก่ แก๊สในตระกูลมีเทนและแก๊สอื่นๆ
- อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษอื่นๆ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นต้น
- ประสิทธิภาพของการมองเห็นลดลง เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอหรือฝุ่นละออง
- เสียงดัง อาจทำให้การได้ยินไม่ปกติ
- อุณหภูมิสูง
- การหนีออกจากพื้นที่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินมีอุปสรรค
Q : ผู้ที่แพทย์จะไม่อนุญาตให้ไปทำงานในที่อับอากาศนั้นคือใครบ้าง
A : ผู้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคลมชัก หรือโรคอื่นๆเมื่อลงไปในที่อับอากาศอาจขาดอากาศและเป็นอันตรายได้
Q : ใครเป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์สำหรับการทำงานในที่อับอากาศ?
A : ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 หรือแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ นั่นเอง