ศูนย์ทารกแรกเกิดวิกฤต (N.I.C.U.)

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » ศูนย์ทารกแรกเกิดวิกฤต (N.I.C.U.)  แบ่งปันไปยัง facebook

พญ.อัญมณี เชื้อเหล่าวานิช

กุมารเวชศาสตร์
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
  1. การป้องกันก่อนคลอด (Primary Prevention)
  2. การดูแลให้เหมาะสมตั้งแต่นาทีแรก เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
  3. การดูแลต่อเนื่อง ทั้งการรักษาทั่วไป, การให้ออกซิเจนและการช่วยหายใจ
  4. เน้นการให้นมแม่เพื่อป้องกัน NEC, ROP, Infection โดยการจัดห้องให้มารดา ได้พักช่วงเวลากลางวันเพื่อปั๊มนมได้ 2-3 รอบ /วัน
  5. การวางแผน แนะนำ ให้ความรู้การดูแลแก่พ่อแม่ เมื่อทารกอาการดีขึ้นพร้อม กลับบ้าน เพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดูแลทารกที่บ้าน
  6. มีการติดตาม โทรสอบถามพัฒนาการของทารกหลังจากกลับบ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และ บริการตอบปัญหาหรือข้อสงสัยทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์เด็กแรกเกิดวิกฤต

ศูนย์เด็กแรกเกิดวิกฤต

  • การดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยทารกน้ำหนักตัวน้อยต่ำสุด 540 กรัม ให้รอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ 
  • มีการนำ Early nasal CPAP มาใช้เพื่อลดการใช้ Ventilator ในทารกแรกเกิด วิกฤต 
  • มีการนำ Heated Humidifier High Flow Nasal Cannula มาใช้เพื่อป้องกัน การ injury ของ airway และใช้ generate CPAP 
  • ใช้ T-piece Resuscitator (Neopuff) มาใช้ในการ resuscitate ทารก เพื่อลด Lung injury เพราะสามารถควบคุม PIP/PEEP ได้ 
  • มีการนำ Blender มาใช้ในการให้ Therapy ร่วมกับ  rescitator  เพื่อป้องกัน ภาวะ hyperoxia ในทารกแรกเกิด 
  • มีการนำ Metronome ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการให้จังหวะดนตรีมาใช้ในการให้ จังหวะ Rate การช่วยหายใจ

Q : การป้องกันไม่ให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย มีวิธีใดบ้าง?

 A : - คนท้องต้องรับประทานอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หลีกเลี่ยงการทำงานหนักและต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ที่สำคัญคือการไปฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆกับสูตินรีแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และตรวจดูความเสี่ยงต่างๆในการตั้งครรภ์ เพื่อการดูแลที่ดีและถูกต้อง
- มาฝากครรภ์สม่ำเสมอเพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

Q : หากทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย อาจจะมีผลเสียอย่างไรบ้าง?

 A : - ระบบทางเดินหายใจของทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ปอดอาจจะยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทำให้มีภาวะหายใจลำบากตั้งแต่แรกเกิดได้
- การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เนื่องจากทารกมีผิวหนังค่อนข้างบาง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย ทำให้สูญเสียความร้อนได้มาก เกิดภาวะตัวเย็นได้ง่าย
- ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่างๆได้ไม่ดี ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทารกที่น้ำหนักน้อยยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันเลือดต่ำ จึงเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้ง่าย

Q : ทารกน้ำหนักตัวน้อย มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?

 A : 1.สาเหตุจากมารดา ได้แก่
- มารดาอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
- การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ซิฟิลิส, เริม ) ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
- มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ
- พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่หรือใกล้ชิดคนสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- ภาวะทุพโภชนาการ
- การตั้งครรภ์เสี่ยง เช่น ครรภ์แฝด
- ประวัติมีบุตรน้ำหนักตัวน้อยมาก่อน
- ความผิดปกติของมดลูกหรือปากมดลูก
- น้ำเดินก่อนคลอด
- มีภาวะเลือดข้นขณะตั้งครรภ์
2.สาเหตุจากตัวทารกเอง ได้แก่
- การติดเชื้อในครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส
- ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย
- ความพิการแต่กำเนิด

Q : ทารกน้ำหนักตัวน้อย หมายถึงอะไร?

 A : ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ซึ่งรวมทั้งทารกที่คลอดก่อนกำหนด คืออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และทารกครบกำหนดคือ มีอายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ