ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน  แบ่งปันไปยัง facebook
  1. มีเบอร์ Call Center 1609 ในการติดต่อฉุกเฉินเฉพาะผู้ป่วยหัวใจและสมอง
  2. มีระบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานทั้งรถฉุกเฉินพร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยชีวิต เจ้าหน้าที่ประจำที่มีประสบการณ์พร้อมระบบสื่อสารที่ทันสมัย สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉินได้ทันเวลา
  3. มีบริการรับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินที่จุดเกิดเหตุโดยร่วมกับระบบ EMS
  4. มีระบบการประเมินผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินตามมาตรฐานของ Triage Scale
  5. มีระบบการบริการฉุกเฉินที่จุดเกิดเหตุห้องฉุกเฉินที่รับผู้ป่วย พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่พร้อมสำหรับการช่วยชีวิต
  6. มีระบบ X-ray ด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ซึ่งสามารถทำที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ทำให้แพทย์ประเมินการบาดเจ็บของระบบโครงร่างและอวัยวะภายในบางระบบได้รวดเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนจากระยะเวลาและความกระทบกระเทือนในการเคลื่อนย้ายจากการเอกซเรย์แบบปกติ นอกจากนี้ระบบ PACs ยังสมารถอ่านผลผ่านจอมอนิเตอร์ได้แบบไม่ใช้ฟิล์ม จึงทำให้ไม่เสียเวลา
  7. การทำ Fast Ultrasound เพื่อตรวจการบาดเจ็บในช่องท้อง ทำให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในช่องท้องได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว แม่นยำ ไม่ต้องรอสังเกตอาการ แพทย์สามารถตรวจพบอวัยวะภายในที่มีความเสียหายได้ตั้งแต่ระยะแรก ทำให้สามารถผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
  8. มีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ครบทุกสาขาใหญ่ทั้งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3, 9 และ 11 โดยล่าสุด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 ได้ติดตั้งเครื่อง CT Scan 64 Slice เพื่อลดระยะเวลาการประมวลผลภาพเหลือเพียง 1 นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยขึ้นเตียง ทำให้สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลถึงความปลอดภัยของชีวิตผู้ป่วยนอกจากนี้ยังเพื่อเพิ่มความหลากหลายในการใช้งานด้านต่างๆที่มากขึ้น อาทิ การตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดแดง กระเพาะอาหารและลำไส้พร้อมการแสดงภาพแบบ 3 มิติ
  9. มีกิจกรรมในการให้ความรู้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุในโรงงาน อุบัติเหตุจราจร เช่น กิจกรรมรณรงค์เมาไม่ขับ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จัดประชุมกับมูลนิธินำผู้ส่งผู้ป่วยเพื่อการนำส่งที่ปลอดภัย
  10. กรณีเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือมีโรคประจำตัวทางโรงพยาบาลมีแพทย์อายุรกรรมเฉพาะทางคอยดูแล เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น
  11. มีระบบสำรองยาและเลือดที่เพียงพอต่อภาวะฉุกเฉิน
  12. มีโรงพยาบาลสาขาที่สามารถรองรับผู้ป่วยกรณีที่ผู้ป่วยบาดเจ็บมีปริมาณมากหรือมาเป็นกลุ่มใหญ่

ความพร้อมของสถานที่

  1. ห้องฉุกเฉินที่กว้างขวางพร้อมเครื่องมือช่วยชีวิต
  2. ห้องผ่าตัดทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
  3. แผนก ICU ดูแลผู้ป่วยวิกฤติ
  4. หอพักผู้ป่วยใน
  5. หน่วยงานฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บพร้อมกายอุปกรณ์

ความพร้อมของบุคลากร

  1. ทีมแพทย์

- ศัลยแพทย์ทั่วไป

- ศัลยแพทย์ระบบประสาท

- ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

- ศัลยแพทย์ระบบทรวงอก

- ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

- ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาอาการบาดเจ็บ

- อายุรแพทย์

- อายุรแพทย์โรคหัวใจ

- รังสีแพทย์

- ศัลยแพทย์นอนเวรตลอด 24 ชั่วโมง

serv105_1

  1. ทีมพยาบาลที่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางด้านงานบริการฉุกเฉินและการอบรมหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นสูง (ACLS), การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นที่ได้รับบาดเจ็บ (ATLS), การประเมินและช่วยชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ

serv105_4

จากความพร้อมในทุกๆด้าน จึงมั่นใจได้ว่าศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน(Accident and Emergency Center) กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ สามารถรองรับผู้ป่วยจากอุบัติเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพเพื่อลดการเสียชีวิตหรือความพิการจากอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด

Q : แผลเปิด คืออะไร? และมีการปฐมพยาบาลอย่างไร?

 A : แผลเปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก แผลตัด แผลฉีกขาด แผลถูกยิง แผลถูกแทง เป็นต้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้
- บาดแผลขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมาก ผู้ปฐมพยาบาลไม่ควรล้างบาดแผลเอง ให้ห้ามเลือดทันที โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลไว้ และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
- บาดแผลเล็กน้อย แผลไม่ลึกมาก เช่น มีดบาด เข็มตำ เป็นต้น ให้ล้างและทำความสะอาดรอบๆแผล ถ้าสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซสะอาด ซับแผลให้แห้ง
- ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ถ้าเป็นแผลถลอกไม่จำเป็นต้องปิดแผล แต่ถ้ามีเลือดซึมควรใช้ผ้าก๊อซสะอาดปิดแผลเอาไว้

Q : แผลปิด คืออะไร? และมีการปฐมพยาบาลอย่างไร?

 A : แผลปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นแผลฟกช้ำ บวม ห้อเลือด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้
- ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ประคบเย็น เพื่อห้ามเลือดและระงับอาการปวด
- หลัง 24 ชั่วโมง ควรประคบด้วยน้ำอุ่น เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ออกมาใต้ผิวหนัง

Q : บาดแผลมี 2 ชนิด อะไรบ้าง?

 A : มี 2 ชนิด ดังนี้
1.แผลปิด
2.แผลเปิด
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ