คลินิกอายุรกรรม

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » คลินิกอายุรกรรม  แบ่งปันไปยัง facebook

นพ.สุเทพ เทอดอุดมธรรม

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ

พญ.วิจิตรา เทียรเดช

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต

พญ.กนิษฐา รัตนพรสมปอง

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิซั่ม

นพ.ปิยะวัฒน์ คัจฉวารี

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต

นพ.ยุทธชัย มาตระกูล

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
อนุสาขาอายุรแพทย์โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

พญ.ชินาภา จรูญวิกานต์

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ

นพ.ปกรณ์ เมธรุจภานนท์

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ

นพ.มานิต มาลาภรณ์

อายุรศาสตร์

นพ.นุกูล คิ้วเรืองกุล

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคทางเดินหายใจ

นพ.เอกกมล ไพบูลย์วัฒนพงศ์

อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา

Q : โรคหัด รักษาอย่างไรบ้าง?

 A : ยังไม่มีวิธีรักษาโรคหัด แต่สามารถหายได้เองภายใน 7 ถึง 10 วัน แพทย์มักจะแนะนำให้คุณพักรักษาตัวที่บ้านไปจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น โดยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อได้ ดังนี้:
- ทานยาพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนเพื่อลดไข้และอาการปวดกล้ามเนื้อ
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ปิดม่านเพื่อลดภาวะอ่อนไหวต่อแสงอาทิตย์
- ใช้ผ้าขนนุ่มชื้น ๆ ทำความสะอาดรอบตา
- ลาเรียนหรือลางานเป็นเวลาอย่างน้อยสี่วันหลังจากที่เริ่มมีผื่นขึ้น
- ในกรณีที่ป่วยรุนแรง โดยเฉพาะที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วยต้องพาผู้ป่วยไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที

Q : ภาวะแทรกซ้อนของหัดที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

 A : ท้องร่วงและอาเจียนจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
- การติดเชื้อของหูชั้นกลางจนทำให้เกิดอาการปวดหู
- เยื่อบุตาอักเสบ
- การอักเสบของกล่องเสียง
- ปอดบวมและโรคครูป ซึ่งเป็นการติดเชื้อของหลอดลมและปอด
- ชักจากไข้

Q : โรคอุจจาระร่วง คืออะไร?

 A : หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวผิดปกติ ตั้งแต่ 3 ครั้งติดต่อกัน หรือมากกว่าใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย

Q : อาการของโรคอุจจาระร่วงมีอะไรบ้าง?

 A : มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอุจจาระบ่อยอาจมีมูกหรือเลือดปน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด หากเป็นรุนแรงอาจมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย

Q : การรักษาโรคอุจจาระร่วง มีวิธีใดบ้าง?

 A : - รักษาตามอาการ ในกรณีติดเชื้อไวรัส (ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ)
- รักษาตามอาการ ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย
- หากมีอาการถ่ายไม่หยุดหรือภาวะขาดน้ำ แพทย์จะพิจารณาให้รับประทานเกลือแร่หรือสารละลายทางหลอดเลือดดำทดแทนจนกว่าอาการจะดีขึ้น

Q : การป้องกันโรคอุจจาระร่วงมีอะไรบ้าง?

 A : - ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนปรุง หรือรับประทานอาหารและภายหลังถ่ายอุจจาระ
- ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุดและเลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดสุกใหม่ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆหรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หากจะเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรืออาหารสำเร็จรูปที่ชื้อไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและอุ่นให้เดือดทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทาน
- ล้างผักสด ผลไม้ ด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง
- ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กมีภูมิต้านทานโรค
- ล้างขวดนมให้สะอาด และต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที
- กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน เช่น อุจจาระเด็กกำจัดหรือทิ้งในโถส้วมหรือกลบให้มิดชิด
- ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

Q : สาเหตุการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงมีอะไรบ้าง?

 A : - ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
- โรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
- จากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
- การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ
- การดื่มสุราเป็นประจำ

Q : การรักษาไขมันในเลือดสูงมีอะไรบ้าง?

 A : - ปรับพฤติกรรม เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ฯลฯ
- การรับประทานยาลดไขมัน

Q : การป้องกันไขมันในเลือดสูงทำอย่างไร?

 A : - ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน เช่น อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น - น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอก ทานตะวัน เป็นต้น
- รับประทานอาหารพวกผักใบเขียวต่างๆ และผลไม้ที่ให้กากใยอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือด
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ