ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด  แบ่งปันไปยัง facebook

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ให้บริการรักษาและฟื้นฟูด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูทั้งผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก ดังนี้

          ผู้ป่วยและผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นในภายหลัง เช่น แขน-ขาขาด (Limb amputee), อัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disorder), อัมพาตจากภาวะไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury), ความผิดปรกติทางการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมภายหลังสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury), เด็กสมองพิการ (Cerebral palsy), เด็กที่ไม่มีแขนขาแต่กำเนิด (Congenital limb deficiency), เด็กพัฒนาการช้า (Delayed Development)

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) มีอาการเจ็บปวดทั้งชนิดเรื้อรังและไม่เรื้อรัง (Pain syndrome)

ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปรกติของระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมถึงผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางออร์โธปิดิคส์ (กระดูกและข้อ)

ผู้ป่วยที่ถูกส่งมาตรวจสภาพเส้นประสาท ระบบประสาทและกล้ามเนื้อด้วยวิธีการทางไฟฟ้าวินิจฉัย (ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นในตรวจ)

ผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac rehabilitation) ประเภทต่างๆ (เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ลิ้นหัวใจรั่ว ฯลฯ) ทั้งก่อนและหลังการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือสวนหัวใจ

ผู้ป่วยโรคทางปอด (Pulmonary rehabilitation) เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น

ผู้ที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นักกีฬาที่บาดเจ็บจากการซ้อมหรือแข่งขันที่ต้องการคำแนะนำในการเพิ่มสมรรถภาพในการเล่นกีฬา

ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ เป็นต้น

โดยมีเทคนิคการตรวจประเมิน ฟื้นฟู รักษาที่ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

  • การตรวจประเมินหาสาเหตุ และรักษาฟื้นฟูสภาพ แก่ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวด (Pain) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฉีดยาคลายจุดเจ็บปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Trigger point injection) การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม (Acupuncture) การออกกำลังแบบต่างๆ (อาทิ การยืดกล้ามเนื้อ, การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น) การฉีดยาเข้าข้อ เป็นต้น
  • การตรวจสภาพเส้นประสาท ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ด้วยวิธีการทางไฟฟ้าวินิจฉัย (ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นในตรวจ) หรือเรียกว่า ELECTRODIAGNOSTIC STUDY
  • การรักษาด้วยมือ โดยวิธีการนวด ดัด ดึง ด้วยเทคนิคพิเศษ ซึ่งปรับให้เหมาะสมกับบริเวณของร่างกายที่รักษาและตามอาการของผู้ป่วย
  • รักษาด้วยความร้อนลึก ความร้อนตื้น ความเย็น คลื่นไฟฟ้า คลื่นแสง คลื่นแม่เหล็กและเครื่องมือไฟฟ้าชนิดต่างๆที่ทันสมัย
  • ให้คำปรึกษาแนะนำและวิเคราะห์ การทำงานของโครงสร้างร่างกาย การยศาสตร์ ความเหมาะสมของท่าทาง สถานที่และวิธีการทำงานเพื่อป้องกันการเกิดการบาดเจ็บของร่างกายจากความไม่เหมาะสมของภาวะงาน ทั้งในสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมและสถานที่ทำงานอื่นๆ
  • การรักษาด้วยการบริหารร่างกาย โดยวิเคราะห์จากอาการที่ผู้ป่วยเป็นนั้นมาจากสาเหตุความบกพร่องของกระดูก กล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาทแล้วออกแบบท่าการบริหารร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • การตรวจประเมิน รักษา และกระตุ้นพัฒนาการ (Early intervention) สำหรับผู้ป่วยเด็กกลุ่มต่างๆที่มีความพิการ (Child disabled) เช่น มีปัญหาพัฒนาการช้า มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว หรือพิการทางสมอง การตรวจประเมินและกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้มีพัฒนาการที่สมวัย
  • การตรวจประเมิน และสั่งการรักษาด้วยกายอุปกรณ์เสริม (Orthosis คือเครื่องประคองร่างกายชนิดต่างๆ) สำหรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ เช่น ปวดหลังที่บั้นเอว, เส้นเอ็นมือขาด, ข้อเท้าตก เป็นต้น

เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัย

  • เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound Diathermy) เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อ ลดกระบวนการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
  • เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Extra corporeal Shockwave) เพื่อลดอาการเอ็นอักเสบเรื้อรัง รองช้ำ พังผืดอักเสบ
  • เครื่องดึงกระดูกสันหลังไฟฟ้า (Spinal Traction) บริเวณคอและหลัง เพื่อบรรเทาอาการผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากเส้นประสาทถูกกดทับจากการแคบตัวลงของช่องว่างระหว่างกระดูก ภาวะกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
  • เครื่องลดปวดด้วยกระแสไฟฟ้า (TENS) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นผ่านเส้นประสาทสัมผัสทางผิวหนัง เพื่อลดความเจ็บปวด อาการชา หรือความรู้สึกที่ผิดปกติไปจากเดิม  ด้วยการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าความเข้มต่ำ ไปกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกปวดที่อยู่บริเวณผิวหนังชั้นตื้น
  • เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อหวังผลในการรักษาที่แตกต่างกันตามสภาวะของการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ซึ่งจุดประสงค์ของการรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้ามีหลายอย่าง เช่น เพื่อการชะลออการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ  ป้องกันการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในกล้ามเนื้อ  เพิ่มสารอาหารของเส้นประสาท เพื่อสอนการทำงานของกล้ามเนื้อใหม่ ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายเส้นเอ็นไปยังที่ตำแหน่งใหม่ และใช้ในการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อโดยการกระตุ้นกล้ามเนื้อกลุ่มที่ทำงานตรงกันข้าม   
  • การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser) เพื่อลดปวดเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลันของเอ็นและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการซ่อมแซมของแผล อาทิ แผลกดทับ แผลเบาหวาน
  • แผ่นประคบร้อน (Hydrocollater Pack) เพื่อบรรเทาอาการปวดของกระดูกและกล้ามเนื้อ  ลดความตึงตัวของข้อต่อ เนื้อเยื่อพังผืดและกล้ามเนื้อที่อยู่ในชั้นตื้น ด้วยการใช้ความร้อนในการรักษา
  • การรักษาด้วยการแช่ขี้ผึ้ง (Parafin) เพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความตึงตัวของข้อต่อ เนื้อเยื่อพังผืดและกล้ามเนื้อในบริเวณข้อต่อที่มีขนาดเล็ก เช่นนิ้วมือและนิ้วเท้า
  • เครื่องออกกำลังกายด้วยRobowalk สำหรับเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวได้แก่ ผู้ป่วยอัมพฤต อัมพาต
  • โปรแกรมตรวจโครงสร้างร่างกายยูกามิรุ (Yugami-ru Program)เป็นโปรแกรมการตรวจวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากความไม่สมดุลของโครงสร้างของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่จะก่อให้เกิดปัญหากับการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยได้ในอนาคต

Q : Shockwave คืออะไร?

 A : คือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดระยะเรื้อรัง

Q : Shockwave ใช้รักษาอาการปวดแบบใด?

 A : อาการปวดมานานเรื้อรัง รักษาด้วยวิธีการอื่นหรือเครื่องมืออื่นๆมาหลายครั้งแล้วยังไม่ดีขึ้น มีพังผืดเกาะหนา หรือมีหินปูนเกาะ

Q : Shockwave อันตรายไหม?

 A : จัดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับการรับรองจากFDA สหรัฐอเมริกา Shockwave ไม่ได้ก่อกำเนิดความร้อนหรือคลื่นสะสมใดๆต่อร่างกาย

Q : ใช้ระยะเวลาในการรักษานานไหม?

 A : ใช้เวลารักษาเพียงไม่กี่นาทีต่อจุด

Q : ต้องทำ Shokwave บ่อยแค่ไหน?

 A : ความถี่เพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ควรต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

Q : ต้องทำ Shockwave กี่ครั้งถึงจะหาย?

 A : สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ภายใน3-4ครั้ง ส่วนจะหายเลยหรือไม่นั้น ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่เป็น ความรุนแรง แต่ละโรคและอาการก็ใช้ระยะเวลาในการหายต่างกัน และที่สำคัญขึ้นกับพฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่อาจทำให้หายช้าหรือกระตุ้นการบาดเจ็บให้กลับเป็นขึ้นมาอีก

Q : ประสิทธิภาพของ Shockwave ขึ้นกับอะไร?

 A : ขึ้นกับจำนวนนัดที่ใช้ในการยิง (ส่วนมากจะอยู่ที่1500-2000นัดต่อบริเวณที่ปวด) เทคนิคการยิง ความเชี่ยวชาญของผู้ใช้ และประสิทธิภาพของเครื่องShockwave ซึ่งแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อให้คุณภาพต่างกันไป
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ