ในประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ปีละ 800,000 ราย และมีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยประมาณ 9% หรือประมาณ 72,000 คน บางรายมีความพิการต้องเป็นภาระแก่ครอบครัวในการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และครอบครัวที่มีลูกเป็นทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงในการเลี้ยงดูและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีภาระดูแลความพิการซ้ำซ้อนที่ตามมา โดยร้อยละ 75 ของทารกน้ำหนักน้อยที่รอดชีวิต ในช่วงต้นของชีวิตมักมีปัญหาในด้านการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความเสี่ยงหรือความไวสูงต่อการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตในระยะปริกำเนิดหรือระยะขวบปีแรก และยังมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการล่าช้าในทุกด้านมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 2,500 กรัมขึ้นไป จึงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ
ศูนย์ทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (Chularat 3 International Neonatal Intensive Care Unit - NICU) เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงมุ่งมั่น ให้บริการดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่อยู่ในภาวะวิกฤติหรือทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงให้รอดชีวิตโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน หรือป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด รวมทั้งให้คำปรึกษาตรวจวินิจฉัยทารกผิดปกติก่อนคลอด ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ร่วมกับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิด และทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ ในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤตอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ศูนย์ทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (Chularat 3 International Neonatal Intensive Care Unit - NICU) หรือ ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมีพร้อมสรรพด้วยแพทย์และเจ้าหน้าที่ดูแล พร้อมด้วยระบบเฝ้าติดตามและสัญญาณเตือน อุปกรณ์ในการช่วยหายใจและการกู้ชีพ สามารถติดต่อกุมารแพทย์เฉพาะทางได้ทุกสาขา บริการห้องแล็บตลอด 24 ชั่วโมง
เครื่องจะบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราหายใจ ความดันโลหิตและอุณหภูมิร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดด้วย คุณอาจสังเกตว่าลูกน้อยแรกเกิดมีแผ่นแปะเล็กๆ หรือปลอกสวมตามตัว เช่น บนอก ขา แขนและส่วนอื่นๆของร่างกาย แผ่นแปะและปลอกสวมเหล่านี้มีลวดเชื่อมต่อกับเครื่องเฝ้าติดตามซึ่งคล้ายจอโทรทัศน์และจะแสดงผลเป็นตัวเลขต่างๆ
* ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมักมีสัญญาณเตือนดังเป็นระยะ สัญญาณเตือนนี้ไม่ได้หมายถึงเหตุฉุกเฉินเสมอไป แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาณที่ดังเป็นกิจวัตรประจำอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวิตก
หลอดสอดคาท่อลม – เป็นสายซึ่งใช้สอดลงหลอดลมของทารกแรกเกิดเพื่อส่งออกซิเจนและอากาศอุ่นๆเติมความชื้นแก่ทารก
เครื่องช่วยหายใจ – เป็นอุปกรณ์ช่วยหายใจซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดสอดคาท่อลมข้างต้นและจะเฝ้าติดตามปริมาณออกซิเจน ความดันอากาศและจำนวนครั้งของการหายใจ
เครื่องปรับความดันบวกตลอดทางเดินหายใจ (C-PAP) – วิธีการนี้จะใช้กับทารกที่สามารถหายใจได้เองแล้ว แต่ยังต้องการความช่วยเหลือให้ส่งอากาศลงไปที่ปอด
กล่องออกซิเจน – เป็นกล่องพลาสติกใสใช้วางครอบศีรษะทารกและต่อกับสายซึ่งจะปั๊มออกซิเจนให้ทารก
สายน้ำเกลือ – สายเหล่านี้จะสอดเข้าในหนังศีรษะ แขนหรือขาทารกเพื่อส่งสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงและมักใช้กับทารกคลอดก่อนกำหนดที่ระบบย่อยอาหารยังเติบโตไม่เต็มที่และไม่สามารถดูด กลืนและหายใจตามปกติได้ บางครั้งยังใช้วิธีการนี้ระหว่างรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆด้วย
หลอดสวนสายสะดือ – เป็นการผ่าตัดสอดหลอดสวนเข้าไปในเส้นเลือดของสายสะดือ วิธีนี้ไม่เจ็บแต่มีความเสี่ยง เช่น อาจเกิดการติดเชื้อและเลือดเป็นลิ่มได้ ดังนั้นแพทย์จึงมักเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆและทารกอาจต้องพึ่งการให้อาหารด้วยวิธีนี้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ สำหรับทารกในกรณีเช่นนี้ หลอดสวนสายสะดือเป็นวิธีรับสารอาหารที่มีประสิทธิภาพที่สุด
สายให้อาหารทางปากและจมูก – วิธีการนี้จะใช้สายที่มีความยืดหยุ่นสอดเข้าทางจมูกหรือปากของทารกซึ่งพร้อมจะย่อยนมแม่หรือนมผงดัดแปลงสูตรทารกแล้ว แต่ยังไม่สามารถดูด กลืนหรือหายใจได้อย่างสัมพันธ์กัน
สายหลัก (บางครั้งเรียกว่าสาย PICC) – คือสายน้ำเกลือซึ่งจะสอดเข้าในเส้นเลือดที่ใหญ่กว่าโดยมักเป็นที่แขน วิธีการนี้ช่วยส่งสารอาหารและยาซึ่งอาจทำให้เส้นเลือดเล็กๆบอบช้ำระคายเคืองได้
ตู้อบ – ตู้อบคือเปลพลาสติกใสที่ให้ความอบอุ่นแก่ทารก รวมทั้งช่วยปกป้องทารกจากเชื้อโรคและเสียงรบกวน
ไฟส่องภาวะตัวเหลือง – คือไฟฟลูออเรสเซนต์สีฟ้าสว่างจ้าซึ่งจะติดไว้เหนือตู้อบเพื่อช่วยรักษาภาวะตัวเหลือง
ทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมักประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการหายใจ ผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมบำบัด โภชนากร ที่ปรึกษาเรื่องนมแม่ เภสัชกร เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด หากคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกน้อยแรกเกิดได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีที่สุดจากเจ้าหน้าที่ก็จะช่วยให้สบายใจและเบาใจลงได้
7. มีการติดตาม โทรสอบถามพัฒนาการของทารกหลังจากกลับบ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และบริการตอบปัญหาหรือข้อสงสัยทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง
ในประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ปีละ 800,000 ราย และมีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยประมาณ 9% หรือประมาณ 72,000 คน บางรายมีความพิการต้องเป็นภาระแก่ครอบครัวในการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และครอบครัวที่มีลูกเป็นทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงในการเลี้ยงดูและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีภาระดูแลความพิการซ้ำซ้อนที่ตามมา โดยร้อยละ 75 ของทารกน้ำหนักน้อยที่รอดชีวิต ในช่วงต้นของชีวิตมักมีปัญหาในด้านการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความเสี่ยงหรือความไวสูงต่อการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตในระยะปริกำเนิดหรือระยะขวบปีแรก และยังมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการล่าช้าในทุกด้านมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 2,500 กรัมขึ้นไป จึงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ
ศูนย์ทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (Chularat 3 International Neonatal Intensive Care Unit - NICU) เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงมุ่งมั่น ให้บริการดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่อยู่ในภาวะวิกฤติหรือทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงให้รอดชีวิตโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน หรือป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด รวมทั้งให้คำปรึกษาตรวจวินิจฉัยทารกผิดปกติก่อนคลอด ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ร่วมกับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิด และทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ ในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ศูนย์ทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (Chularat 3 International Neonatal Intensive Care Unit - NICU) หรือ ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมีพร้อมสรรพด้วยแพทย์และเจ้าหน้าที่ดูแล พร้อมด้วยระบบเฝ้าติดตามและสัญญาณเตือน อุปกรณ์ในการช่วยหายใจและการกู้ชีพ สามารถติดต่อกุมารแพทย์เฉพาะทางได้ทุกสาขา บริการห้องแล็บตลอด 24 ชั่วโมง
เครื่องจะบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราหายใจ ความดันโลหิตและอุณหภูมิร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดด้วย คุณอาจสังเกตว่าลูกน้อยแรกเกิดมีแผ่นแปะเล็กๆ หรือปลอกสวมตามตัว เช่น บนอก ขา แขนและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แผ่นแปะและปลอกสวมเหล่านี้มีลวดเชื่อมต่อกับเครื่องเฝ้าติดตามซึ่งคล้ายจอโทรทัศน์และจะแสดงผลเป็นตัวเลขต่างๆ
* ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมักมีสัญญาณเตือนดังเป็นระยะ สัญญาณเตือนนี้ไม่ได้หมายถึงเหตุฉุกเฉินเสมอไป แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาณที่ดังเป็นกิจวัตรประจำอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวิตก
หลอดสอดคาท่อลม – เป็นสายซึ่งใช้สอดลงหลอดลมของทารกแรกเกิดเพื่อส่งออกซิเจนและอากาศอุ่นๆ เติมความชื้นแก่ทารก
เครื่องช่วยหายใจ – เป็นอุปกรณ์ช่วยหายใจซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดสอดคาท่อลมข้างต้นและจะเฝ้าติดตามปริมาณออกซิเจน ความดันอากาศและจำนวนครั้งของการหายใจ
เครื่องปรับความดันบวกตลอดทางเดินหายใจ (C-PAP) – วิธีการนี้จะใช้กับทารกที่สามารถหายใจได้เองแล้ว แต่ยังต้องการความช่วยเหลือให้ส่งอากาศลงไปที่ปอด
กล่องออกซิเจน – เป็นกล่องพลาสติกใสใช้วางครอบศีรษะทารกและต่อกับสายซึ่งจะปั๊มออกซิเจนให้ทารก
สายน้ำเกลือ – สายเหล่านี้จะสอดเข้าในหนังศีรษะ แขนหรือขาทารกเพื่อส่งสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงและมักใช้กับทารกคลอดก่อนกำหนดที่ระบบย่อยอาหารยังเติบโตไม่เต็มที่และไม่สามารถดูด กลืนและหายใจตามปกติได้ บางครั้งยังใช้วิธีการนี้ระหว่างรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย
หลอดสวนสายสะดือ – เป็นการผ่าตัดสอดหลอดสวนเข้าไปในเส้นเลือดของสายสะดือ วิธีนี้ไม่เจ็บ แต่มีความเสี่ยง เช่น อาจเกิดการติดเชื้อและเลือดเป็นลิ่มได้ ดังนั้นแพทย์จึงมักเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และทารกอาจต้องพึ่งการให้อาหารด้วยวิธีนี้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ สำหรับทารกในกรณีเช่นนี้ หลอดสวนสายสะดือเป็นวิธีรับสารอาหารที่มีประสิทธิภาพที่สุด
สายให้อาหารทางปากและจมูก – วิธีการนี้จะใช้สายที่มีความยืดหยุ่นสอดเข้าทางจมูกหรือปากของทารกซึ่งพร้อมจะย่อยนมแม่หรือนมผงดัดแปลงสูตรทารกแล้ว แต่ยังไม่สามารถดูด กลืนหรือหายใจได้อย่างสัมพันธ์กัน
สายหลัก (บางครั้งเรียกว่าสาย PICC) – คือสายน้ำเกลือซึ่งจะสอดเข้าในเส้นเลือดที่ใหญ่กว่า โดยมักเป็นที่แขน วิธีการนี้ช่วยส่งสารอาหารและยาซึ่งอาจทำให้เส้นเลือดเล็กๆ บอบช้ำระคายเคืองได้
ตู้อบ – ตู้อบคือเปลพลาสติกใสที่ให้ความอบอุ่นแก่ทารก รวมทั้งช่วยปกป้องทารกจากเชื้อโรคและเสียงรบกวน
ไฟส่องภาวะตัวเหลือง – คือไฟฟลูออเรสเซนต์สีฟ้าสว่างจ้าซึ่งจะติดไว้เหนือตู้อบเพื่อช่วยรักษาภาวะตัวเหลือง
เจ้าหน้าที่ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมักประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการหายใจ ผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมบำบัด โภชนากร ที่ปรึกษาเรื่องนมแม่ เภสัชกร เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด หากคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกน้อยแรกเกิดได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีที่สุดจากเจ้าหน้าที่ก็จะช่วยให้สบายใจและเบาใจลงได้