คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยสวนหัวใจ

 Home
» การเตรียมตัวก่อนการรักษา » คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยสวนหัวใจ แบ่งปันไปยัง facebook
"เรื่องหัวใจ...รอไม่ได้"
คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยสวนหัวใจ
       โรคหัวใจขาดเลือด เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะตีบแคบจากการเกาะจับของ ไขมัน เกล็ดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัวและหนาตัวขึ้นหรือมีหินปูนจับเกาะทำให้ รูหลอดเลือดตีบแคบลงจนอาจตันได้ ทำให้หลอดเลือดไหลผ่านไม่สะดวกและมีปริมาณน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นตาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมาทับ บางครั้งร้าวไปที่แขน ไหล่ หรือที่กราม

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
       1.  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น ควมคุมอาหาร หวาน มัน เค็ม 
งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
       2. การรักษาด้วยยา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด การใช้ยาลดไขมันในเลือด
       3. รักาาด้วยการทำหัตถการ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
       4. รักษาทั้ง 2 วิธีคือ การรักษาด้วยการใช้ยาและการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจหรือการผ่าตัดทำทาง เบี่ยงหลอดเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนที่จะผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือ ปอด ที่มีอายุค่อนข้างมาก หรืออายุน้อยแต่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะนัดมาให้ฉีดสีเพื่อตรวจดูเส้นเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจว่าตีบ ตันหรือไม่ ถ้าเส้นเลือดปกติหรือตีบเล็กน้อยจะผ่าตัดแต่ลิ้นหัวใจหรือปอดอย่างเดียว ถ้าเส้นเลือดตีบมากแพทย์จะทำการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดพร้อมในคราว เดียวกัน

ขั้นตอนการเตรียมตรวจสวนหัวใจ
      1. เตรียมเอกสารสิทธิบัตรของท่านในการรักษาให้เรียบร้อย
      2. นอนโรงพยาบาลก่อนทำการสวนหัวใจล่วงหน้า 1 วัน เพื่อเจาะเลือดตรวจ,เอกซเรย์,ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ,ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง
      3. ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
      4. ทำความสะอาดโกนขนบริเวรขาหนีบซ้ายและขวาหรือแขนซ้ายและขวา หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดร่างกายและสระผม
      5. งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน(24.00 น.) ก่อนวันตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
      6. ให้สารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
      7. ประเมินชีพจรส่วนปลาย (หลังเท้า)
      8. เช้าวันตรวจให้งดน้ำและพอาหาร  แต่ให้รับประทานยาตามปกติ ยกเว้นยาขับปัสสาวะและยาเบาหวาน
      9. ไม่ควรนำของมีค่า ฟันปลอม และไม่สวมแว่นไม่สวมรองเท้า ไม่ใส่ชุดชั้นในเข้าไปในห้องสวนหัวใจ
    10. ก่อนไปห้องสวนหัวใจท่านจะได้รับประทานยาผ่อนคลายความเครียดและยาฉีดป้องกันการแพ้ยาป้องกันการแพ้สารทึบแสง หรืออื่นๆตามแผนการรักษาของแพทย์
     11. ท่านจะต้องปัสสาวะก่อนไปห้องสวนหัวใจ
     12. เจ้าหน้าที่ห้องสวนหัวใจมารับไปห้องสวนหัวใจ

สิ่งสำคัญที่ต้องรีบบอกแพทย์และพยาบาลทันที

      1. ประวัติการแพ้ยา อาหารทะเล หรือ อื่นๆ
      2. โรคประจำตัวที่มีอยู่ เช่นหอบหืด โรคไต โรคเลือดหรืออื่นๆ
      3. มีไข้สูง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ
      4. มีรอบเดือนในผู้หญิง

ขั้นตอนการสวนหัวใจ
     
1. ถึงห้องสวนหัวใจ ผู้ป่วยไปนอนบนเตียงเตรียมตรวจ
       2. ห่มตัวผู้ป่วยด้วยผ้าสีเขียว ซึ่งอบฆ่าเชื้อ
       3. พยาบาลจะทายาฆ่าเชื้อโรคและแพทย์ฉีดยาชาที่บริเวณขาหนีบข้างขวา(แขนขวาในบาง ราย)ระหว่างการสวนไม่เจ็บ ถ้ามีอาการเจ็บแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลในห้องสวนหัวใจทันที
       4. พยาบาลสังเกตอาการสัญญาณชีพ และคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างใกล้ชิด มีการบันทึกและการประเมินระดับความรู้สึกตัวผู้ป่วย
       5. เมื่อสวนหัวใจเสร็จท่านจะได้รับคำอธิบายผลการตรวจจากแพทย์
       6. ท่านจะพักอยู่ในห้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 30 นาที เพื่อทำการกดห้ามเลือดบริเวณขาหนีบข้างขวา(ข้อมือขาในบางราย)และสังเกตอาการ ที่ผิดปกติ ถ้ามีอาการผิดปกติจึงส่งกลับห้องผู้ป่วย
       7. ในบางรายที่มีอาการผิดปกติเช่นเจ็บหน้าอกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ท่านจะต้องนอนพักที่หอผู้ป่วยหนักหัวใจ ก่อนจนกว่าอาการปกติจึงส่งกลับหอผู้ป่วย

การดูแลหลังการสวนหัวใจ
ในกรณีที่ใส่สายสวนผ่านทาง ขาหนีบข้างขวามีคำแนะนำ ดังนี้
      1. ให้นอนหงายราบห้ามยกศรีษะ ห้ามงอขาข้างขวา(แขนขวา) หรือข้างที่ใส่สายสวนหัวใจและจะมีการวางหมอนทรายทับแผลไว้ เป็นเวลา 4 ชั่วโมงเพื่อห้ามเลือด
      2. เมื่อกลับถึงหอผู้ป่วยถ้าไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้ดื่มน้ำ หรือ น้ำหวานได้ทันที และสามารถรับประทานอาหารได้ ในท่านอนจนกว่าจะครบ 4 ชั่วโมงหลังจากการทำจึงลุกขึ้นรับประทานได้หากมีข้อสงสัยติดต่อ ศูนย์ประสานงานโรคหัวใจ
     3. ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งบนเตียงได้เมื่อครบ 4 ชั่วโมงและเดินได้ครบ 24 ชั่วโมง หรือวันรุ่งขึ้น หลังใส่สายสวนหัวใจ
     4. ห้ามไอ จามแรงๆ หรือเบ่งเพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลบริเวณขาหนีบได้
     5. ถ้ารู้สึกอุ่นๆ บริเวณขาหนีบอาจเกิดจากมีเลือดออกจากแผลให้รีบแจ้งพยาบาลทราบทันทีเพื่อให้การแก้ไข
     6. ถ้ามีแผลบวม ปวดแผล ชาที่ขา หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ให้แจ้งพยาบาลทันที
     7. ขณะยังไม่ครบ 4 ชั่วโมงหลังจากการทำท่าปวดปัสสาวะมากหรือปัสสาวะไม่ออก จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะ
     8. มีการตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจรอย่างใหล้ชิด ทุก 15 นาที 4 ครั้งทุก 30 นาที และทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าปกติ
     9. มีการตรวจคลื่อไฟฟ้าหัวใจทันทีที่มาถึงหอผู้ป่วยและวันรุ่งขึ้น
    10. แพทย์ทำการสวนหัวใจจะเป็นคนให้ข้อมูลการตรวจการ

การดูแลเมื่อท่านกลับมาอยู่หอผู้ป่วย
     1. หลังจาการกดห้ามเลือดแล้วห้ามขยับข้อมือข้างที่ทำการตรวจรักษา เป็นเวลา 4 ชั่วโมง
     2. ถ้าไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สามารถรับประทานอาหาร ดื่มน้ำได้
     3. ถ้ามีเลือดออกบริเวณแผลมีอาการปวดชา หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ให้แจ้งพยาบาลทราบทันที

อาการผิดปกติที่ท่านต้องการรีบบอกพยาบาลทันทีเมื่ออยู่ในหอผู้ป่วย
     1. รู้สึกเจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
      2. รู้สึกใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด
      3. รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน และ อื่นๆ
      4. รู้สึกอุ่นชื้นบริเวรแผล (ต้องรีบบอกเพราะอาจมีเลือดออกมาอย่างรวดเร็วจากเส้นเลือดแดงใหญ่)
      5. ถ้ามีข้อสงสัยอื่นๆ สอบถามได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

การดูแลแผล
      1. ในวันรุ่งขึ้นหลังทำ แพทย์ฝพยาบาลจะเปิดแผลทำความสะอาด
       2. ระวังอย่าให้แผลเปียกน้ำ 1 วัน หลังจากนั้นเอาผ้าปิดแผลออก แผลถูกน้ำได้ตามปกติ
       3. ท่านจะกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้นหรืออีก 2 วัน

อาการผิดปกติที่ต้องรีบกลับมาพบแพทย์
       1. มีไข้
       2. แผลอักเสบ บวมแดง เขียวฟอกช้ำมาก ปวดแผลมาก บริเวณขาหรือแขนที่สวนหัวใจ
       3. อาการผิดปกติอื่นๆ เช่น เหนื่อย แน่นหน้าอก
*********************************************************
ศูนย์ประสานงานโรคหัวใจ: โทร.02-769-2900#361
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ