การส่องกล้องระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERC)

 Home
» การเตรียมตัวก่อนการรักษา » การส่องกล้องระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERC)  แบ่งปันไปยัง facebook
  การส่องกล้องระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERC)

     เป็นการส่องกล้องตรวจดูลักษณะของระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อนโดยการฉีดสารทึบรังสีผ่านทางสายยางเข้าทางกล้องที่ตรวจเพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาติ่ไป(ใช้เวลาในการตรวจรักษาประมาณ1-2 ชั่วโมงต่อราย)
การเตรียมตัวและขั้นตอนการตรวจส่องกล้อง

       1. งดน้ำและอาหารทุกชนิดอย่างน้อย 4-6 ชม.ก่อนมารับการตรวจ
       2. สำหรับสตรีหากมีครรภ์ควรแจ้งแพทย์ทราบก่อนการรักษาเพราะต้องมีการใช้สารทึบรังสีในการตรวจ
       3. หากมีประวัติแพ้ยา แพ้อาหารทะเล แพ้สารทึบรังสี กรุณาแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบเนื่องจากการแพ้อาจเป็น
อันตรายแก่ผู้ป่วย
       4. แจ้งแพทย์ถ้าท่านมีโรคประจำตัวหรือกินยาประจำอยู่โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
       5. หากมีฟันปลอมต้องถอดออก
       6. ผู้ป่วยจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำที่แขนขวา
       7. แพทย์อาจให้ยาลดฟองในกระเพาะอาหารก่อนการตรวจ
       8. ผู้ป่วยจะได้รับการพ่นยาชาในคอเพื่อให้ลำคอหมดความรู้สึกเจ็บชั่วคราวขณะทำการส่องกล้อง
       9. แพทย์จะพิจารณาให้ยากล่อมประสาทและยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยบางรายตามความเหมาะสม
            - ผู้ป่วยจะถูกจัดให้นอนอยู่ในท่าตะแคงซ้ายขณะตรวจ
            -แพทย์จะสอดกล้องผ่านทางปากและให้ผู้ป่วยคาบอุปกรณ์ป้องกันฟันบน-ล่างไว้กันการกระแทก
หรือกัดโดนกล้องขณะตรวจ
            -หากมีน้ำลายควรปล่อยไหลออกมาห้ามกลืนเพราะจะทำให้สำลักได้

การปฎิบัติตัวหลังการส่องกล้อง

       1.ความรู้สึกชา หนาๆบริเวณคอจะค่อยๆหายไปเองในระยะเวลาไม่นาน
       2.ในระหว่างที่ฤทธิ์ยาชาบริเวณลำคอยังไม่หมดไปหากมีน้ำลายควรบ้วนทิ้งและไม่ควรรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
   เพื่อป้องกันสำลัก
       3.เมื่อเริ่มหายชาบริเวณลำคอแล้วควรจิบน้ำน้อยๆก่อนเพื่อทดสอบระบบการกลืนเมื่อปกติดีแล้วจึงรับประทานอาหารได้หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนเพราะอาจจะเกิดการบาดเจ็บในช่องปากกรณีที่ยาชายังไม่หมดฤทธิ์
       4.ผู้ป่วยที่แพทย์ให้ยากล่อมประสาทจะต้องนอนพักเพื่อดูอาการจนปลอดภัยดีแล้วจึงอนุญาตให้กลับห้องพักหรือกลับบ้านได้
       5.หลังส่องกล้องอาจจะมีอาการแน่นท้องท้องอืดจากลมที่แพทย์ใส่เข้าไปขณะทำการตรวจซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเอง
       6.การส่องกล้องตรวจนี้มีความปลอดภัยสูงโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่เกิน0.1%แต่หากมีอาการปวดเสียดท้องแน่นท้อง ปวดต้นคอ ปวดหลังส่วนบน มีไข้ อุจจาระดำหรือมีเลือดออก ต้องกลับมาพบแพทย์ด่วน
      7.ควรปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์รับประทานอาหารและยาตามแพทย์สั่งและมาตรวจตามนัด
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ