คือ การที่คนไข้สามารถพูดคุยสื่อสารกับแพทย์ผ่าตัดในระหว่างการผ่าตัดเนื้องอกในสมองได้โดยไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ขั้นตอนการผ่าตัดที่ซับซ้อนและต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูงประกอบด้วย ศัลยแพทย์ระบบประสาทที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ วิสัญญีแพทย์ระบบประสาท และทีมผ่าตัดเฉพาะด้าน
เป้าหมายของเราคือ การผ่าตัดเนื้องอกให้ได้มากที่สุดหรือทั้งหมดอย่างปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเนื้องอกอยู่ใกล้บริเวณสมองที่ควบคุมการทํางานที่สําคัญ เช่น การพูด ภาษา หรือการเคลื่อนไหว การตัดกะโหลกที่ตื่นขึ้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการระบุตำแหน่งและรักษาสมองส่วนนั้นไม่ให้โดนทำลายหรือเสียหายถาวร การผ่าตัดสมองยังมีการใช้เครื่องมืออื่นๆ เพื่อทําแผนที่การทํางานของสมอง เช่น ระบบนำวิถี Navigator system ในการระบุตำแหน่งเนื้องอกที่จะผ่าตัด การระบุตำแหน่งตามกายวิภาคของสมอง
การผ่าตัดสมองแบบตื่น มักใช้สําหรับ การผ่าตัดเนื้องอกสมอง(glioblastoma, astrocytomas และ oligodendrogliomas) เนื้องอกในสมองเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในสมองส่วนหน้าผาก,ขมับ,และสมองส่วนบน ซึ่งควบคุมการพูดและการทํางานของการเคลื่อนไหว และความรู้สึกตามร่างกาย ผู้ป่วยต้องเข้าใจและยินยอมตกลงที่จะรับการผ่าตัดแบบตื่นระหว่างการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจไม่สามารถให้ความร่วมมือในการตรวจทางระบบประสาทระหว่างการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีความเสี่ยงสูง จะต้องได้รับการประเมินจากทีมแพทย์อย่างละเอียด
เนื้อเยื่อสมองไม่มีเส้นใยความเจ็บปวด ดังนั้นในขณะที่ได้รับการผ่าตัดเนื้อสมอง ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อบล็อคเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงหนังศีรษะและกระโหลกศีรษะในขณะที่ผ่าตัดส่วนนี้
ผู้ป่วยจะสื่อสารกับทีมแพทย์ผ่าตัดได้ปกติ และต้องทำตามที่ทีมแพทย์บอก เช่น ขยับแขน ขา พูด สื่อสาร เป็นต้น ซึ่งทีมแพทย์จะใช้เครื่องมือทดสอบการตอบสนองของสมองเป็นระยะๆ ตามตำแหน่งที่ต้องการจะทดสอบก่อนผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย เช่น ถ้าจะทดสอบตำแหน่งที่มาเลี้ยงการขยับแขนขา แพทย์จะให้ผู้ป่วยยกแขนหรือขาค้างไว้ เมื่อทดสอบโดนตำแหน่งของสมองที่มาเลี้ยงส่วนนี้ แขนขาจะอ่อนแรงลงทันที ทำให้ศัลยแพทย์ทราบว่าตำแหน่งนี้ต้องหลีกเลี่ยง
การผ่าตัดอาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 30 นาทีนาทีถึงหลายชั่วโมง ขึ้นอยู่กับว่าเนื้องอกแค่ไหน ตําแหน่งของเนื้องอก ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
ความเสี่ยงของการผ่าตัดแบบตื่น
ขึ้นกับขนาด และตำแหน่งของเนื้องอก สภาวะสุขภาพของผู้ป่วย และความชำนาญของทีมแพทย์ที่ทำการผ่าตัด ซึ่งโดยทั่วไปความเสี่ยงของการผ่าตัดจะไม่แตกต่างจากการผ่าตัดแบบหลับ แต่จะสามารถป้องกันความเสียหายของสมองส่วนสำคัญได้แม่นยำกว่า
ทางทีมแพทย์โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 ได้ผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกในสมองขนาดใหญ่แบบตื่น หลายราย ซึ่งเนื้องอกอยู่ชิดกับเนื้อสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขา การรับรู้ความรู้สึก ซึ่งถ้าผ่าตัดแบบหลับ มีโอกาสที่จะผ่าเอาเนื้องอกออกไม่หมด หรือผู้ป่วยอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงถาวรได้ ในการผ่าแบบตื่นนี้ ทีมแพทย์สามารถผ่าตัดเนื้องอกออกได้หมด และไม่มีความเสียหายรุนแรงของเนื้อสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
![]() |
![]() |
![]() |
ปรึกษาออนไลน์ |
นัดหมายรับบริการ |
สนใจแพคเกจ |