คุณรู้จัก "โรคมะเร็งปอด" ดีแค่ไหน ?

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » คุณรู้จัก "โรคมะเร็งปอด" ดีแค่ไหน ? แบ่งปันไปยัง facebook

คุณรู้จักมะเร็งปอดดีแค่ไหน!? มะเร็งปอด(Lung cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในโลก โรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็ง (โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง) มีอัตราส่วนระหว่างการเสียชีวิตต่อจ่านวนผู้ป่วยสูงถึง 0.87 สำหรับในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และเป็นอันดับต้นๆ รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในเพศหญิง

มะเร็งปอดมีอยู่ 2 ชนิด
1.มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small cell lung cancer) พบประมาณ 15%
2.มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer, NSCIC) พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมดโดยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มีโอกาสตรวจพบโรคในระยะต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก


ปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นในเกิดมะเร็งปอด
- การสูบบุหรี่
- มลภาวะทางอากาศ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควัน
- บุคคลที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งปอด
- การสัมผัสกับก๊าซเรดอน : เรดอนเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซเฉื่อย สามารถพบทั่วไปในอากาศ ซึ่งอาจพบสะสมในตัวอาคารบ้านเรือน การสัมผัสก๊าซนี้เป็นสาเหตุหลักในการก่อโรคมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่
- ผู้มีอายุมากกว่า 40 ปี
- การสัมผัสสารก่อมะเร็ง: ยกตัวอย่างเช่น การหายใจเอาแร่ใยหินหรือควันจากท่อไอเสียเข้าสู่ร่างกาย การหายใจหรือบริโภคสารเคมีบางชนิด (อาเซนิค ถ่านหิน) หรือการสัมผัสสารยูเรเนียม
- การรักษาด้วยการฉายแสงที่ทรวงอก: ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค Hodgkin lymphoma หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม


อาการแสดงเบื้องต้นของโรคมะเร็งปอด
อาการแสดงของโรคมะเร็งปอดอาจถูกเข้าใจผิดว่ากับบางโรค เช่น การติดเชื้อ หรือเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานได้ โดยอาการแสดงที่พบส่วนมากมักจะเกิดเมื่อโรคดำเนินไปถึงระยะลุกลามแล้ว อาการที่พบบ่อยคือ
- มีอาการไอเรื้อรัง
- ไอพร้อมมีเลือดออกมา
- เหนื่อยง่าย
- อ่อนแรง
- เจ็บหน้าอก
- หายใจได้สั้นๆ
- น้ำหนักลดหาสาเหตุไม่ได้

 

การตรวจวินิจฉัย
1.การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)
• การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration)
• การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม (bronchoscopy)
• การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก (thoracentesis)
• การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง (mediastinoscopy)
• การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง (thorocoscopy)

2.การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
• การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI): เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
• การตรวจด้วยเครื่อง PET scan (positron emission tomography scan): เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

 

การรักษาโรคมะเร็งปอด
ㆍการผ่าตัด
ㆍการฉายรังสีรักษา
ㆍยาเคมีบำบัด
ㆍยาภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นการรักษาแบบใหม่ล่าสุด เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถจดจำและทำลายเซลล์มะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันของตัวเอง
ㆍยามะเร็งแบบมุ่งเป้า เป็นการรักษากลุ่มใหม่ที่มุ่งทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็ง มะเร็งที่เป็นเป้าหมายเฉพาะของยา

การป้องกัน 81% ของมะเร็งปอด 2010 เกิดจากการสุบบุหรี่
ดังนั้นแม้จะไม่มีวิธีป้องกันเต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยไม่สูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ เสี่ยงการสูบบุหรี่มือสองและหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งต่างๆ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่แน่นอนไดๆว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ จากการศึกษาที่ครอบคลุมที่สุดเกี่ยวกับสาเหตุและความเสี่ยง ของโรคมะเร็งปอดในประเทศต่างๆนั้นประเมินว่า 81%ของมะเร็งปอด 2010 เกิดจาการสูบบุหรี่
ดังนั้นแม้จะไม่มีวิธีป้องกันแต่สามารถลดความเสี่ยงได้ โดยไม่สูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ เลี่ยงการสูบบุหรี่มือสอง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อมะเร็งต่างๆ


ติดต่อเพื่อพูดคุยกับเราเกี่ยวกับการรักษา หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่าง
โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7
02 033 2900 ต่อ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
website : https://www.chgcancercenter.com
FanPage : fb.com/CHGCancerCenter
Line : @CHGCancerCenter Link : https://lin.ee/b0RJt7d

 

 

ปรึกษาออนไลน์

 นัดหมายรับบริการ

สนใจแพคเกจ 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ